การเตรียมความพร้อมสำหรับการวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณของกลุ่มแรงงานในระบบ ช่วงอายุ 40-60 ปี ใน กรุงเทพฯและปริมณฑลแล้ว พบว่า คนวัยนี้วางแผนออมเงินไว้ใช้ในวัยเกษียณผิดผลาด

ผลวิจัย(*) ระบุว่า ความผิดผลาดดังกล่าวมีอยู่ 7 ประการ ซึ่งทำให้คนที่อยู่วัยนี้มีเงินออมไม่พอใช้หลังเกษียณ กล่าวคือ

1. เริ่มวางแผนช้าเกินควร คือมีเพียง 38% เท่านั้นที่เคยวางแผนไว้และทำได้ตามแผน

2. มั่นใจมากเกินควร คือ 71% ที่ไม่เคยวางแผน กลับมั่นใจว่าจะมีชีวิตหลังเกษียณใกล้เคียงหรือดีกว่าที่เป็นอยู่

3. วางแผนโดยขาดความรู้ ความเข้าใจ
เช่นมักละเลยผลของเงินเฟ้อในอนาคต

4. การประมาณค่าใช้จ่ายหลังเกษียณน้อยเกินควร
กลุ่มตัวอย่างมักวางแผนว่าจะใช้เงินเพียง 34% ของรายได้เดือนสุดท้าย ขณะที่ค่าขั้นต่ำที่นิยมใช้วางแผนตัวเลขจะอยู่ที่ 70%

5. ประมาณอายุขัยเฉลี่ยน้อยเกินควร
พบข้อผิดผลาดที่ผู้หญิงจะเป็นมากกว่าผู้ชาย ทำให้มีโอกาสที่เงินจะหมดก่อนสิ้นอายุขัย

6. ออมเงินไว้น้อยเกินควร
ส่วนใหญ่จะมีเงินออมไม่เพียงพอ ถ้าไม่นับอสังหาริมทรัพย์อยู่ในสินทรัพย์ แต่ถ้ารับรวมส่วนใหญ่จะมีเงินออมเพียงพอ

7. ผู้ที่ต้องการเกษียณก่อนกำหนดส่วนใหญ่มีเงินออมไม่เพียงพอสำหรับวัยเกษียณ

* สถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

Cr: โพสต์ทูเดย์