พอสิ้นเดือน มนุษย์เงินเดือนทั้งหลายอย่างเราๆ ท่านๆ  ก็ดีใจ อิ่มเอมเกษมศรี  เงินเดือนออกแล้ววุ้ย ปรับยอดบัญชีเงินเข้ามาแล้ว ได้ยินเสียงปี๊ดๆ มีส่งข้อความเงินเข้า ใจนั้นก็แสนพองโต ฮิฮิ ซื้ออะไรดี ซื้ออะไรดี รายจ่ายก็เยอะๆ รายอยากได้ อยากมีก็ยังคงมีเยอะอยู่เหมือนกัน  หันไปดูเพื่อนรอบข้าง ก็แอบสังสัยไม่ได้ .. ทำไมเพื่อนร่วมงานคนนั้น คนโน้น เขาสามารถซื้อมือถือใหม่ ซื้อกระเป๋าใหม่ ซื้อเครื่องประดับใหม่ หรือ ซื้อโน่น ซื้อนี้ได้ตลอดเวลา ทั้งๆ ที่เขาก็ทำงานเหมือนๆ กับเรา พวกเขามีเงินเก็บกันบ้างมั้ย ไปเก็บเงินตอนไหน เก็บอย่างไร  แต่สำคัญกว่าอื่นใด ทำไมตัวเรากลับไม่มีเงินเก็บ !!

คิดได้ดังนั้น  เหมือนสติมาปัญหาเกิด เอ้ย ปัญญาเกิด หาแนวร่วมกันดีกว่า ได้การล่ะ ชักชวนเพื่อนๆ ในแผนก สัก 5 คนมาเล่นแชร์ เฮ้ยไม่ช่าย ไม่ช่าย มาแข่งกันเก็บเงินดีกว่า แนวร่วมทั้งหลายก็พากันเฮโล ยินดีด้วย ดีจัง มาแข่งขันเก็บเงินดีกว่า แล้วพากันสารภาพบาป จริงๆ แล้วที่ซื้อของก็หนี้ทั้งน้านเลย เงินผ่อนจร้า… ผ่อนเค้ามา…ไม่ผ่อนไม่ได้ของ แต่จริงๆ ก็อยากมีเงินเก็บสักก้อน ก้อนเล็กๆ พอติดแบงค์ไว้คุยก็ยังดี เฮ้อ เนี่ยละน่ามนุษย์เงินเดือน

เอาละ งั้นมาตั้งกติกากัน ทำอย่างไรจะเก็บเงินแข่งกันได้มากที่สุด เอาเริ่มต้นซักภายใน 1 ปี บางคนก็แย้งมาว่า “คนเงินเดือนเยอะ ก็เก็บได้เยอะสิ” นั่นสิ คิดสิ คิดสิ จะแข่งเก็บอย่างไรดี ที่จะแฟร์ๆ วินๆ ที่สุด ข้อสรุปคือ เก็บในสัดส่วนของรายได้ ตัวเองมากที่สุด

รายจ่าย  = รายได้ – เงินออม (เงินเก็บ)

เริ่มจาก .. หาเคล็ดลับช่วยเก็บเงิน สนุกแถมรวย! อันนี้ต้องบอกสมาชิกให้ครบนะว่าเคล็ดลับมีอะไรบ้าง  แล้วมาพิสูจน์กันซิว่า ถ้าทำตาม 6 เคล็ดลับช่วยเก็บเงิน จะสามารถทำเป้าหมายถึงฝั่งแน่นอน มาดูกันกลยุทธ์แข่งขันเก็บเงินจะได้ผลแค่ไหน… นึกในใจเราต้องทำได้ ชวนเพื่อนแข่งแล้วห้ามเสียหน้า ใจเย็น ใจเย็น Strong Strong สู้ สู้ สรรหาคำมาเป็นกำลังใจกันหน่อย

1. ตั้งเป้าหมายให้ตัวเอง (สำคัญมาก)
เป้าหมายเหมือน GPS ช่วยนำทาง ถ้าหากใช้การตั้งเป้าหมายร่วมกับการเก็บเงินละก็จะช่วยให้มีวินัยในการใช้เงินมากขึ้น โดยอาจจะลองตั้งเป้าหมายให้ตัวเองมีเงินเก็บสะสมเท่านั้นเท่านี้ในเวลากี่ปี และใช้เป้าหมายนั้นผลักดันตนเอง แต่ อย่าให้กลายเป็นความกดดันจนเกินไป เป้าหมายที่ดีต้อง S.M.A.R.T. หมายถึงอะไร ตามนี้เลย

S = Specific เฉพาะเจาะจงลงไปเลย เช่น จะซื้อบ้านหลังละ 2 ล้านบาท เป็นต้น
M = Measurable ต้องวัดได้ เช่น เก็บเงิน 10% ของเงินเดือนทุกๆ เดือน เป็นต้น
A = Attainable เน้นที่การกระทำ เช่น ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น หรือ หารายได้เพิ่ม
R = Realistic ต้องเป็นไปได้จริง หรือ คำนวณออกมาให้ได้เลยว่า ต้องเก็บเงินเท่าไหร่
T = Time Bound มีกำหนดเวลา เช่น ฉันจะมีบ้านเป็นของตัวเองให้ได้ภายใน 5 ปี

2. แบ่งเงินทันทีที่ได้รับเงินเดือน
เพื่อให้การเก็บเงินเป็นไปตามเป้าหมาย หลังจากมียอดเงินเข้าบัญชีในแต่ละเดือน จะต้องแบ่งเงินออกเป็น 3 ส่วนคือ
บัญชีค่าใช้จ่าย 80% บัญชีออมทรัพย์แบบมี ATM สำหรับใช้จ่ายทั้งเดือน
บัญชีฉุกเฉิน 5% บัญชีออมทรัพย์แบบไม่มี ATM เก็บให้ได้ 6 เท่าของรายจ่ายต่อเดือน
บัญชีออมและลงทุน 15% ลงทุนตามที่เราถนัด เช่น หุ้น กองทุน ทองคำ เปิดร้านขายของ
ตัวอย่างเช่น เงินเดือน 20,000 บาท โอนเงินเข้าบัญชีค่าใช้จ่าย 16,000 บาท และโอนเงินเข้าบัญชีฉุกเฉิน 1,000 บาท เก็บจนกว่าจะได้ 6 เท่าของรายจ่ายต่อเดือนคือ 16,000 x 6 = 96,000 บาท เก็บครบไม่ต้องเติม แต่ถ้ามีการเอาเงินออกไปใช้ก่อน ต้องเก็บคืนมาให้ครบ เงินส่วนที่เหลือนำไปออมและลงทุนตามที่เราถนัด เช่น หุ้น กองทุน ทองคำ

3. จดบันทึกรายรับ-รายจ่าย
แรกๆ อาจจะยากหรือมีข้ออ้างที่จะลงบันทึกทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ไม่ต้องกังวลเพราะปัจจุบันมีแอปฯ มากมายโหลดลงมือถือเป็นผู้ช่วยจดบันทึก หลังจากได้ทำมันแล้ว สิ่งหนี่งที่ได้คือ ทำให้ตัวเองมีวินัยในการใช้จ่ายมากขึ้น คิดก่อนใช้  ตัวอย่างแอปพลิเคชั่นที่สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้อย่างสะดวก ง่ายดาย และปลอดภัย One stop service กับ กรุงศรีออนไลน์แบงก์กิ้ง

4. แบ่งเงินใช้ในแต่ละวัน
การสร้างกฎให้กับตัวเองจะช่วยให้เก็บเงินได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งเงินไว้เป็นถุงๆ เพื่อใช้ในแต่ละวัน วิธีเหล่านี้สามารถช่วยให้คุณมีวินัยในการเก็บเงินมากขึ้น แถมยังทำให้เรามองเห็นเงินออมได้ชัดเจนมากขึ้นอีกด้วย

5. หารายได้เสริม
หาช่องทางสร้างรายได้เสริมที่ตัวเองสามารถทำได้โดยไม่กระทบกับงานหลัก และนำรายได้เสริมที่ได้มาเก็บออมเพิ่ม อาชีพเสริมที่มนุษย์เงินเดือนสามารถทำได้ก็มีหลากหลาย เช่น ขายอาหาร ขายเสื้อผ้าตามตลาดนัดในวันหยุด ขายของออนไลน์ แม้กระทั่งเป็นตัวแทนประกันชีวิต รับรองได้เลยว่าเป้าหมายในการเก็บเงินนั้นไม่มีไกลเกินเอื้อมแน่นอน

6. ทำเงินให้งอกเงย
ทำเงินให้งอกเงยที่ว่านี้ก็คือการใช้บริการทางการเงินของธนาคารที่เหมาะสม อย่างเช่น การเปิดบัญชีฝากประจำแบบปลอดภาษีที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากประเภทอื่น เป็นตัวช่วยในการสร้างวินัยในการออมเงินให้กับเรา เพราะต้องนำเงินไปฝากเป็นประจำเท่าๆ กันทุกเดือน หากขาดไปก็จะไม่ได้รับดอกเบี้ยสูงตามที่คาดหวังไว้ เมื่อเปิดบัญชีแล้วก็เหมือนเป็นการบังคับให้ต้องทำให้ได้ ฝากให้ทันและให้ครบระยะเวลาด้วย

แข่งกันเสร็จแล้ว อัปเดทให้เพื่อนๆ ดูด้วยนะคะ สนุกแถมรวย! กับเคล็ดลับช่วยเก็บเงินไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินความสามารถเลย แค่เพียงมีวินัยในการเก็บเงินเท่านั้น ไม่ว่าจะเงินเดือนน้อยหรือมาก หากตั้งใจที่จะเก็บเงินจริงๆ ก็รับรองว่าจะต้องมีเงินเก็บอย่างแน่นอน ทำแล้วยังรู้สึกว่าอยากจะเก็บเงินให้ได้มากกว่านี้ การลงทุนช่วยคุณได้ แต่ก็ควรจะศึกษาเรื่องการลงทุนให้ดีเสียก่อน เนื่องจากการลงทุนมีความเสี่ยง อยากรู้เทคนิค เคล็ดลับทางด้านการเงินเพิ่มเติมแนะนำกูรูด้านนี้เลยคร่า #KrungsriGuru ที่มีประโยชน์ ยังมีบทความจาก www.krungsri.com/guru และ www.facebook.com/krungsriguru รอให้ทุกคนเข้าไปอ่านกันอยู่นะค่ะ

 

[ บทความนี้เป็นบทความ Advertorial ]