พอร์ตสาธิตยูนิตลิงค์ (My Unit-Linked) ประจำเดือนตุลาคม 2562
พอร์ตสาธิตนี้จัดทำขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์คือ
1. เป็นพอร์ตยูนิตลิงค์ สำหรับการศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (เริ่ม 1 ธ.ค. 2559-2599)
2. เป็นพอร์ตการลงทุนจริงของผม สำหรับความคุ้มครองต่อเนื่อง 40 ปี
คาดหวังผลตอบแทน เฉลี่ย 5% ต่อปี กรมธรรม์คุ้มครองถึงสิ้นปีที่ 40 อายุ 85 ปี

สถานะพอร์ต เดือนตุลาคม 2562
ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา SCBS ออกรายงานประจำเดือน ต.ค. 2562 สรุปภาพรวมตลาด SET ปรับลดลง -2.18% (MoM) SET เคลื่อนไหว Underperform ตลาดหุ้นต่างประเทศ โดยเฉพาะการปรับลงในช่วงปลายเดือน ทำให้ SET สวนทางกับตลาดหุ้นต่างประเทศ ซึ่งคาดเกิดจากปัจจัยภายในอย่างผลการดำเนินงานที่ยังชะลอตัว กระตุ้นแรงขายให้ปรับลงหลุดต่ำกว่า 1600 จุด ด้าน SET ในเดือน พ.ย. แม้เริ่มฟื้นตัวขึ้นหาบริเวณ 1600 จุดได้ อย่างไรก็ตาม คาดว่ากรอบบนถูกจำกัดที่แนวต้าน 1620-1630 จุด และดัชนียังมีความเสี่ยงในการปรับลงได้ต่อ ด้วยปัจจัยกดดันจาก
1) มูลค่าที่ตึงตัว หลังถูกปรับประมาณการกำไรปีหน้าลงอีกครั้งทำให้มูลค่าทางพื้นฐานอยู่ที่ระดับเพียง 1608 จุด เมื่อเทียบค่าเฉลี่ย forward PER ที่ 15.0x
2) แนวโน้มราคาน้ำมันมีโอกาสปรับตัวลงโดย WTI มองมีความเสี่ยงต่ำกว่าระดับ 50 เหรียญ จากความกังวลเศรษฐกิจชะลอตัวกระทบอุปปสงค์น้ำมัน กดกันหุ้นกลุ่มพลังงาน
3) สถิติการเคลื่อนไหวของดัชนี VIX มักกลับมาปรับขึ้นจากบริเวณ 12-13 จุด ซึ่งแสดงถึงความผันผวนจะกลับมา และเป็นลบต่อตลาดหุ้น ทำให้ด้านกลยุทธ์ แนะนำลดน้ำหนักหุ้นในพอร์ต ส่วนการซื้อใช้ Selective Buy

SET index ปิด 31 ต.ค. 2562 1,601.49 -35.73 / -2.18%(MoM)
SET50 index ปิด 31 ต.ค. 2562 1,073.26 -17.05 / -1.56%(MoM)

มูลค่ารับซื้อคืนหน่วยลงทุนในพอร์ตลงทุนจริงสาธิตเพื่อความคุ้มครอง(RPP) ณ สิ้นเดือน ต.ค.2562 (ข้อมูล ณ วันที่ 1 ต.ค. 2562) พอร์ตเพื่อความคุ้มครองมีมูลค่า 11,284.82 บาท หลังจากหักค่าธรรมเนียมกรมธรรม์รายเดือน เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2562 (ค่าการประกันภัย 207 บาท และค่าธรรมเนียมรักษากรมธรรม์ 75 บาท) สถานะพอร์ตลงทุนจริงสาธิตเดือนนี้เทียบกับเดือน ก.ย. 2562 มีมูลค่าลดลง(ขาดทุน) -286.55 บาท หรือ -2.48% และเมื่อเทียบกับมูลค่าคงเหลือเงินลงทุน (เบี้ยประกันสะสมหลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆ) ณ สิ้นเดือน ต.ค. 2562 เท่ากับ 11,983.50 บาท มีมูลค่าลดลง(ขาดทุน) -698.68 บาท หรือ -5.83%

สถานะพอร์ตสาธิตยูนิตลิงค์ (My Unit-Linked) เดือนตุลาคม 2562

สัดส่วนและผลตอบแทน
เปิดใช้งานปรับสัดส่วนลงทุนอัตโนมัติ (Auto Rebalance: AR) ทุกๆ 3 เดือน รอบการปรับสัดส่วนการลงทุนอัตโนมัติเมื่อวันที่ 04 กันยายน 2562 ไม่มีการปรับสัดส่วนเนื่องจาก% การเปลี่ยนแปลงในพอร์ตไม่ถึง 1% การปรับสัดส่วนลงทุนอัตโนมัติครั้งต่อไป 04 ธันวาคม 2562 สัดส่วนการลงทุนเป็น 80:20 (ตราสารทุน 80% และตราสารหนี้ 10% ตลาดเงิน 10%) ซึ่งสัดส่วนแต่ละกองทุนดังนี้
1) KFMTFI สัดส่วนพอร์ต 10% สัดส่วนปัจจุบัน 10.16%
2) TCMF สัดส่วนพอร์ต 10% สัดส่วนปัจจุบัน 10.03%
3) TMB50 สัดส่วนพอร์ต 80% สัดส่วนปัจจุบัน 79.81%

KFMTFI สัดส่วนพอร์ต 10% สัดส่วนปัจจุบัน 10.16% เพิ่มขึ้น +0.16% จำนวนหน่วยลงทุนเมื่อเดือนกันยายน 2562 จาก 74.8410 หน่วย เทียบกับจำนวนหน่วยลงทุนในเดือนตุลาคม 2562 เหลือ 73.0162 หน่วย ลดลงเท่ากับ -1.8250‬ หน่วย ผลตอบแทนลดลง -2.25% เนื่องจากมีการขายหน่วยลงทุนเพื่อจ่ายค่าธรรมเนียมและ COI รายเดือน 28.4682 บาท

ผลการดำเนินงานกองทุน KFMTFI ย้อนหลัง 3 เดือน (ที่มา WealthMagik)

TCMF สัดส่วนพอร์ต 10% สัดส่วนปัจจุบัน 10.03% เพิ่มขึ้น +0.03% จำนวนหน่วยลงทุนเมื่อเดือนกันยายน 2562 จาก 77.0470 หน่วย เทียบกับจำนวนหน่วยลงทุนในเดือนตุลาคม 2562 เหลือ 75.1680 หน่วย ลดลงเท่ากับ -1.8790‬ หน่วย ผลตอบแทนลดลง -2.27% เนื่องจากมีการขายหน่วยลงทุนเพื่อจ่ายค่าธรรมเนียมและ COI รายเดือน 28.2808 บาท

ผลการดำเนินงานกองทุน TCMF ย้อนหลัง 3 เดือน (ที่มา WealthMagik)

TMB50 สัดส่วนพอร์ต 80% สัดส่วนปัจจุบัน 79.81% ลดลง -0.19% จำนวนหน่วยลงทุนเมื่อเดือนกันยายน 2562 จาก 89.4830 หน่วย เทียบกับจำนวนหน่วยลงทุนในเดือนตุลาคม 2562 เหลือ 87.3010 หน่วย ลดลงเท่ากับ -2.1820 หน่วย ผลตอบแทนลดลง -2.46% เนื่องจากมีการขายหน่วยลงทุนเพื่อจ่ายค่าธรรมเนียมและ COI รายเดือน 225.1257 บาท

ผลการดำเนินงานกองทุน TMB50 ย้อนหลัง 3 เดือน (ที่มา WealthMagik)

สรุปผลดำเนินงานพอร์ต ณ สิ้นปีกรมธรรม์
ปีที่ 1: อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยที่ทำได้ช่วง -1% ถึง 2% ต่ำกว่า ความคาดหวัง 5% ต่อปี
ปีที่ 2: อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยที่ทำได้ช่วง -1% ถึง 2% ต่ำกว่า ความคาดหวัง 5% ต่อปี
ปีที่ 3: อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยที่ทำได้ ณ 31 ต.ค. 2562 ต่ำกว่า ความคาดหวัง 5% ต่อปี

ผลตอบแทนคาดหวังพอร์ตสาธิตยูนิตลิงค์ (My Unit-Linked)

ข้อกังวล:
กรมธรรม์ประกันชีวิตประเภทยูนิตลิงค์ เริ่มทำสัญญาเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2559 อายุ 46 ปี เพศชาย เลือกจำนวนเงินเอาประกันภัยหลักเพื่อความคุ้มครอง 45 เท่า จำนวนเงินเอาประกันเพื่อความคุ้มครอง 540,000 บาท สำหรับความคุ้มครองต่อเนื่อง 40 ปี (อายุ 85 ปี) คาดหวังผลตอบแทน เฉลี่ย 5% ต่อปี
1. ณ อายุ 75 ปี กรมธรรม์ปีที่ 30 เบี้ยประกันสะสม 12,000 x 30 = 360,000 บาท
2. ณ อายุ 85 ปี กรมธรรม์ปีที่ 40 เบี้ยประกันสะสม 12,000 x 40 = 480,000 บาท
3. คาดหวังผลตอบแทน เฉลี่ย 5% ต่อปี กรมธรรม์คุ้มครองถึงสิ้นปีที่ 35 อายุ 80 ปี
4. มูลค่าหน่วยลงทุนไม่เพียงพอ ตั้งแต่อายุ 81 ปี ถึงแม้ว่าจะจ่ายเบี้ยฯ ต่อเนื่องทุกปี
– ปีที่ 36 อายุ 81 ปี ค่าธรรมเนียมฯ 44,514.60 บาท
– ปีที่ 37 อายุ 82 ปี ค่าธรรมเนียมฯ 49,336.80 บาท
– ปีที่ 38 อายุ 83 ปี ค่าธรรมเนียมฯ 54,375.00 บาท
– ปีที่ 39 อายุ 84 ปี ค่าธรรมเนียมฯ 59,650.80 บาท
– ปีที่ 40 อายุ 85 ปี ค่าธรรมเนียมฯ 65,202.00 บาท

แนวทางแก้ไข:
เพื่อไม่ให้กรมธรรม์สิ้นผลบังคับ เนื่องจากมูลค่าหน่วยลงทุนไม่เพียงพอ จ่ายค่าธรรมเนียมรายเดือนตั้งแต่อายุ 81 ปี ถึงแม้ว่าจะจ่ายเบี้ยฯ ต่อเนื่องทุกปี แนวทางแก้ไขดังนี้
1) ปรับผลตอบแทนคาดหวังเฉลี่ย 5% ต่อปี ให้สูงขึ้นเป็น 6 ~ 8% ต่อปี ซึ่งสัดส่วนการลงทุนในพอร์ตสาธิตปัจจุบันผลตอบแทนคาดหวังของพอร์ตอยู่ในช่วง 6.63% ~ 8.32% หากเกิดปีวิกฤตอาจติดลบ -35.83% ผลตอบแทนที่ทำได้จริง -5.83% (ณ 1 ต.ค. 2562)

2) เพิ่มเบี้ย RSP ปีละ 12,000 บาท 15 ปี (ถึงอายุ 60 ปี) ผลตอบแทนคาดหวังเฉลี่ย 5% ต่อปี จำนวนเงินเอาประกันจาก 540,000 บาท เพิ่มเป็น 600,000 บาท และยังคงความคุ้มครองต่อเนื่องจนถึงอายุ 90 ปี

3) เพิ่มเบี้ย TOPUP ปีละ 12,000 บาท 15 ปี (ถึงอายุ 60 ปี) ผลตอบแทนคาดหวังเฉลี่ย 5% ต่อปี ยังคงความคุ้มครองต่อเนื่องจนถึงอายุ 90 ปี

4) พิจารณาเปลี่ยนแผนความคุ้มครองเป็นแบบประกันชีวิตตลอดชีพ (Whole Life) จ่ายเบี้ยฯคงที่ แต่ได้รับความคุ้มครองตลอดชีวิต ตัวอย่างเช่น เพศชายอายุ 46 ปี แบบประกันตลอดชีพ มาย โฮล ไลฟ์ A90/21 ทุนประกัน 540,000 บาท เบี้ยประกัน 18,940 บาท/ปี ส่งเบี้ย 21 ปี รวมเบี้ยสะสม 18,940×21 = 397,740 บาท ให้ความคุ้มครองถึงอายุ 90 ปี

เพื่อรักษาเป้าหมายความคุ้มครองต่อเนื่อง สำหรับผู้ที่มีกรมธรรม์ Unit-Linked หรืออะไรก็ตาม ที่มีเครื่องมือบริหารความเสี่ยงที่เรียกว่า Auto Rebalance (AR) ควรพิจารณานำมาใช้ เพราะจะช่วยให้ได้ประโยชน์หลายประการอย่างเป็นระบบ ได้แก่ 1) ได้ต้นทุนเฉลี่ยต่ำลง 2) รักษาระดับความเสี่ยง 3) รอทำกำไรช่วงขาขึ้น แต่ควรเลือกเวลาปรับสัดส่วนเหมาะสมตามพอร์ตการลงทุนแต่ละท่าน เร็วไปหรือช้าไปส่งผลตอพอร์ตของเราโดยรวม ผลประโยชน์ของตัวเรา ควรใส่ใจและรีวิวพอร์ตกรมธรรม์ประกันชีวิตประเภทยูนิตลิงค์ อย่างน้อยปีละครั้ง ปลอดภัยกว่ามาแก้ไขปัญหาในภายหลังครับ

รายงานสถานะทางการเงินของกรมธรรม์

เอกสารประกอบการเสนอขายกรมธรรม์ประกันชีวิตประเภท ยูนิต ลิงค์
(ตัวอย่างการเปรียบเทียบมูลค่าเวนคืนกรมธรรม์)

ข้อเสนอ(QE) ณ ธ.ค. 2559
ข้อเสนอ(QE) ณ 2562

** คำเตือน **

  • การลงทุนในหน่วยลงทุนตามรูปแบบของกรมธรรม์ประกันชีวิต ประเภท ยูนิต ลิงค์ มีความเสี่ยง ผู้ขอเอาประกันภัยอาจได้รับเงินคืนมากกว่าหรือน้อยกว่ามูลค่าเบี้ยประกันภัยที่ถูกจัดสรรเข้ากองทุน ที่ผู้ขอเอาประกันภัยเป็นผู้เลือก ทั้งนี้กรมธรรม์นี้ไม่มีการรับประกันเงินส่วนที่ได้ลงทุนไป
  • ผู้ขอเอาประกันภัยควรทำความเข้าใจในเงื่อนไขและผลประโยชน์ของกรมธรรม์ รวมทั้งเงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงในการลงทุน ตลอดจนความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัย เนื่องจากกรมธรรม์นี้เหมาะสำหรับการออมเงินระยะยาว และมีค่าธรรมเนียมในการถอนเงินจากกรมธรรม์และค่าธรรมเนียมการเวนคืนกรมธรรม์ ซึ่งอาจมีผลให้มูลค่าจากการถอนเงินจากกรมธรรม์และมูลค่าเวนคืนกรมธรรม์มีมูลค่าน้อยกว่ามูลค่ารับซื้อคืนหน่วยลงทุน ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษารายละเอียดจากตารางค่าธรรมเนียมในการถอนเงินจากกรมธรรม์และค่าธรรมเนียมการเวนคืนกรมธรรม์
  • ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ราคาของหน่วยลงทุนและผลตอบแทนที่จะได้รับจากหน่วยลงทุนมีโอกาสสูงขึ้นหรือต่ำลงได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการเลือกกองทุนของผู้เอาประกันภัยและผลประกอบการของกองทุนรวม
  • การลงทุนในกองทุนรวมในบางกองทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ผู้เอาประกันภัยอาจจะได้รับเงินคืนมากกว่าหรือน้อยกว่า มูลค่าเบี้ยประกันภัยที่ถูกจัดสรรเข้ากองทุนเริ่มแรกได้ นอกจากนี้การลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุนนั้น มีความเสี่ยงและมีความไม่แน่นอนของผลประโยชน์ที่จะได้รับค่อนข้างสูง และอาจเป็นไปได้ที่ผลประโยชน์ดังกล่าวจะไม่คุ้มกับมูลค่าที่ลงทุนไป ขณะที่กองทุนรวมตลาดเงินและกองทุนตราสารหนี้นั้นมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่า แต่ผลประโยชน์ที่จะได้รับก็จะต่ำกว่าเช่นกัน
  • การที่ผู้เอาประกันภัยจะได้รับความคุ้มครองอย่างคุ้มค่า อาจไม่ได้เกิดจากการชำระเบี้ยประกันภัยหลักเพื่อความคุ้มครองที่สูงที่สุด แต่อาจเกิดจากการเลือกอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างการชำระเบี้ยประกันภัยหลักเพื่อความคุ้มครองกับการชำระเบี้ยประกันภัยหลักเพื่อการออม ดังนั้นผู้เอาประกันภัยควรพิจารณาอย่างรอบครอบในอัตราส่วนการชำระเบี้ยประกันภัยของทั้งสองประเภทจากตัวอย่างในการคำนวณหลายๆ แบบ
  • ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับความเสี่ยงจากการลงทุนในกองทุน ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับกองทุนที่นอกเหนือจากกรมธรรม์นี้ ได้จากหนังสือชี้ชวนของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน