ใกล้สิ้นปีสิ่งสำคัญที่หลายๆ คนเริ่มจะคิดในช่วงนี้คือการวางแผนลดหย่อนภาษี ซึ่งปัจจุบันก็มีสินค้าทางการเงินการลงทุนมาใช้ลดภาษีกันมากมาย โดยปีนี้ทางสรรพกรก็ได้ปรับเกณฑ์เล็กน้อย เช่นเดิม LTF ลดหย่อนได้สูงสุด 15% ของเงินได้พึงประเมิน เป็นลดหย่อนได้สูงสุด 15% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีและไม่เกิน 500,000 บาท และจากภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นยังผันผวน ดังนั้นทางเลือกของการลดหย่อนภาษีที่น่าสนใจอีกทางหนึ่งคือ การลดหย่อนภาษีด้วยประกันชีวิต ซึ่งปัจจุบันหลายๆคนอาจจะยังไม่ทราบว่า ตอนนี้ประกันชีวิตสามารถลดหย่อนได้สูงสุดถึง 300,000 บาท เนื่องจากแต่เดิมประกันชีวิตแบบทั่วไปคนมักจะออมระยะสั้นเกินไป พอครบกำหนดก็ได้เงินก้อนออกมาก่อนจะจึงเวลาที่เกษียณจริงๆ
ดังนั้นการลดหย่อนภาษีด้วยประกันชีวิต 100,000 บาทแรก จึงอาจทำให้ไม่สามารถจะทำให้คนมีเงินเก็บได้จนถึงเกษียณจริงๆ ประกอบกับคนก็ยังนิยมซื้อ กองทุน RMF เพื่อลดหย่อนภาษีไม่มากนักอาจเป็นเพราะหลายๆ คนยังขาดความรู้เรื่องการลงทุนบ้าง รวมถึงการลงทุนก็ยังมีความเสี่ยงอยู่บ้าง และตอนครบอายุ 55 ปี ก็มักจะขายถือเป็นเงินก้อน ซึ่งถ้าบริหารไม่ดี เงินก้อนก็อาจจะใช้หมดไม่นานพอช่วงหลังเกษียณก็เป็นได้ ดังนั้นกรมสรรพากรจึงอยากให้ประชาชนทุกๆคนมีเงินใช้ได้จริงๆ ช่วงหลังเกษียณไปเรื่อยๆในลักษณะบำนาญและไม่ต้องการให้มีความเสี่ยงมาก รวมถึงไม่ต้องมีความรู้เรื่องการลงทุนก็สามารถบริหารเงินได้ จึงให้บริษัทประกันชีวิตออกสินค้าประกันชีวิตแบบบำนาญเพื่อส่งเสริมให้คนได้ออมเงินเพื่อมีเงินใช้ในยามเกษียณจริงๆและใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเพิ่มสูงสุดอีก 200,000 บาท เลยทีเดียว โดยสรุปลักษณะแบบประกันชีวิตที่จะนำไปลดหย่อนภาษีได้ เป็น 2 แบบดังนี้
1. ประกันชีวิต (แบบทั่วไป) จะลดหย่อนได้สุงสุดไม่เกิน 100,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
– ประกันชีวิตต้องมีกำหนดระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และรับประกันโดยบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย
– ต้องเป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีเงินคืนหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตรายปีและเบี้ยประกันสะสม
– เบี้ยประกันชีวิตสำหรับสัญญาเพิ่มเติม (เช่นอุบัติเหตุ/สุขภาพ เป็นต้น) ของกรมธรรม์ที่เริ่มคุ้มครองตั้งแต่ 1 มกราคม 2552 จะไม่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้
2. ประกันชีวิต (แบบบำนาญ) ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้พึ่งประเมินที่ต้องเสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
– ต้องเป็นกรมธรรม์ที่มีระยะเวลาเอาประกันภัย 10 ปีขึ้นไป
– การจ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญ จะจ่ายให้แก่ผู้เอาประกันภัยตั้งแต่อายุ 55 ปี ขึ้นไปและจ่ายต่อเนื่องไปจนผู้เอาประกันภัยอายุถึง 85 ปีหรือมากกว่านั้น
– เป็นกรมธรรม์ที่ไม่มีการจ่ายผลประโยชน์อื่นใด ก่อนที่ผู้เอาประกันภัยจะได้รับผลประโยชน์เงินบำนาญที่อายุครบ 55 ปี (ไม่มีเงินคืนระหว่างทางก่อนรับบำนาญ) ยกเว้นประโยชน์กรณีการเสียชีวิต
– เมื่อรวมเงินที่ซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญ กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
และที่สำคัญคือ ชื่อแบบประกันบำนาญที่จะลดหย่อนภาษีได้ ต้องมีวงเล็บ ว่าเป็น “บำนาญแบบลดหย่อนได้” ด้วย
ตารางเปรียบเทียบสินค้าทางการเงินการลงทุนมาใช้ลดหย่อนภาษี* กรมสรรพกรก็ได้ปรับเกณฑ์ RMF/LTF เป็นลดหย่อนได้สูงสุด 15%
ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 500,000 บาท
ดังนั้นการวางแผนภาษีด้วยสินค้าประกันชีวิตจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจอย่างยิ่งในการวางแผนลดหย่อนภาษี กับท่านที่ต้องการความแน่นอนของเงินที่จะได้รับเมื่อหลังเกษียณ โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้การเงินมากมาย ก็สามารถซื้อได้ และหากเราซื้อเกินสิทธิลดหย่อนก็ไม่มีข้อเสียหายเรื่องค่าปรับเหมือนการซื้อเกินสิทธิของกองทุน LTF หรือ RMF แถมระหว่างการออมเงินก่อนรับบำนาญ นอกจากจะได้เงินคืนจากค่าลดหย่อนภาษีแล้วยังอาจจะได้ความคุ้มครองประกันชีวิตเพิ่มอีกด้วย (เสียชีวิตก่อนรับบำนาญก็ยังได้เงินมากกว่าที่ออมมา) แถมยังสามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพอุบัติเหตุหรือโรคร้ายแรง แนบเพิ่มไปก็ได้ หวังว่าท่านจะได้ทางเลือกของการวางแผนลดหย่อนภาษีในปีนี้เพิ่มขึ้นนะคะ
ถึงตรงนี้หากยังงงๆไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร สอบถามแม่แก้ว ออมสินดอทเน็ต เรามีทีมงานที่ปรึกษาการเงินมืออาชีพคอยช่วยเหลือทุกคน ที่ยังมีข้อสงสัย โทรเลย 081-7743466
ที่มา: Money&Wealth, Financial Freedom
No Comment