ได้มีโอกาสได้อ่านบทความฉบับหนึ่งของคุณกาญจนา หงษ์ทอง รู้สึกได้แง่คิดหลายๆ อย่างจึงนำมาฝากสมาชิกเว็บออมสินดอทเน็ตค่ะ

คน เรามีความอยากได้ อยากมีกันทุกคน ยิ่งตัวเองเป็นจิตแพทย์ด้วย ต้องรู้จักควบคุมความอยากของตัวเอง ไม่ให้ตึงหรือหย่อนจนเกินไป ก็มีบ้างที่ฟุ่มเฟือยเป็นครั้งคราว ถึงบอกว่าต้องทำบัญชีรับจ่ายแล้วจะช่วยได้ ทำให้เรารู้ตัว

……เงิน ไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิต ความสุขและความสงบต่างหากที่สำคัญที่สุด แต่ก็ต้องยอมรับว่าเงินเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญ ฉะนั้น วันนี้คนเราควรจะหมั่นเก็บออม เพราะแม้ไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุด แต่เงินก็เหมือนหลักประกันความมั่นคงในชีวิตให้เราได้…

นั่นเป็น มุมมองของ “พ.ญ.อัญชุลี ธีระวงศ์ไพศาล” พิธีกรสาวจากรายการ “สบาย@ไนน์” ทางช่อง 9 ที่ใครๆ เรียกเธอกันติดปากว่า “หมอแอร์” นั่นเพราะชีวิตจริงของเธอเป็นจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ที่ปัจจุบันต้องบอกว่าประเทศไทยกำลังขาดแคลนบุคลากรในด้านนี้อย่างมาก

หลัง เสร็จสิ้นจากงานพิธีกรและการให้คำปรึกษาแก่พ่อแม่เด็กแล้ว หมอแอร์มาเล่าถึงการจัดการเงินทองในแบบของเธอ ว่าทุกวันนี้สูตรลงตัวของเธออยู่ที่ ใช้จ่าย 75% เก็บออม 25%

“หลัก การคือทุกเดือนต้องมีเงินเก็บ มากหรือน้อยก็ตามแต่ต้องมี ตัวเลขเฉลี่ยก็จะอยู่ในราว 25% อาจจะเป็นคนที่ค่อนข้างเก็บเงินได้ อย่างสมัยที่เรียนจบ เพื่อนๆ ที่ใช้ทุน อาจจะเงินเดือนเยอะ แต่ของแอร์เรียนต่อ เงินเดือนจะน้อย ตกเดือนละ 8,170 บาท บวกเงินเวรเหมาจ่ายเดือนละประมาณ 5 พันบาท แอร์ก็จะใช้แต่ส่วนของเงินค่าเวรที่ได้มา ส่วนเงินเดือน 8 พันกว่าบาทเก็บเลย ไม่แตะ ซึ่งก็อยู่ได้ เพราะขอนแก่นค่าครองชีพถูก ไม่ต้องใช้อะไรมาก แต่ก็ต้องใช้เงินบ้าง เก็บอย่างเดียวเครียดเกินไป อย่างผู้หญิงก็มีเรื่องชอปปิงบ้าง แต่โดยรวมๆ ก็ถือว่าเก็บเงินได้ตลอด บริหารให้การกินอยู่และจับจ่ายใช้สอยไม่เกิน 75%”

พ.ญ.อัญชุลีบอกว่า คนเราต้องมีเงินเก็บ ถึงแม้จะชอบชอปปิง ชอบแต่งตัว แต่ทุกอย่างควรจะมีลิมิต วิธีควบคุมค่าใช้จ่ายของเธอคือจดบันทึกรายการใช้จ่ายไว้ในไดอารี่ ซื้ออะไรมาก็จดไว้ตลอด จะได้รู้ว่าเราซื้ออะไรไปบ้าง บางคนอาจจะช้อปเพลิน บางทีไม่รู้ว่าใช้จ่ายอะไรไปบ้าง แต่การจดจะช่วยให้เรารู้ว่าเราหมดเงินไปกับอะไร หรือเมื่อต้องการที่จะชอปปิงอีก เราก็พลิกดูบันทึกรายจ่าย อาจจะพบว่าเดือนนี้เราซื้อมากไปแล้ว บันทึกรายจ่ายก็ช่วยตีกรอบตัวเองได้ในระดับหนึ่ง

ตรงนี้ต้องบอกว่า ยากเหมือนกัน เพราะคนเรามีความอยากได้ อยากมีกันทุกคน ยิ่งตัวเองเป็นจิตแพทย์ด้วย ต้องรู้จักควบคุมความอยากของตัวเอง ไม่ให้ตึงหรือหย่อนจนเกินไป ก็มีบ้างที่ฟุ่มเฟือยเป็นครั้งคราว ถึงบอกว่าต้องทำบัญชีรับจ่ายแล้วจะช่วยได้ ทำให้เรารู้ตัว บางทีถ้าไม่จด ได้แต่ใช้เพลินมารู้อีกทีเงินหมดไปแล้ว ข้อสำคัญต้องไม่แตะเงินออม”

หลัก สำคัญของพ.ญ.อัญชุลี คือทุกอย่างต้องเริ่มจากมีเงินออมก่อน ถ้าเก็บเงินได้ ก็เอาเงินออมไปต่อยอด ให้ออกดอกออกผลได้ แต่ตราบใดที่เราไม่มีเงินออม เราก็ไม่มีสิทธิที่จะไปทำอย่างอื่นได้เลย นอกจากเธอจะมีเงินออมที่เก็บสะสมทุกเดือนแล้ว ยังมีเงินอีกก้อนหนึ่งที่เก็บไว้เพื่อรับมือกับเรื่องฉุกเฉินของชีวิต เช่นบางทีเราอาจจะเจ็บไข้ได้ป่วย เราจึงควรเตรียมเงินสำรองไว้

หลัง จากเก็บเงินออมได้ก้อนหนึ่ง พ.ญ.อัญชุลีบอกว่า เธอก็จัดสรรเงินออมก้อนนี้กระจายลงทุนไปยังส่วนต่างๆ ซึ่งในส่วนของการลงทุนนั้น เธอออกตัวว่าเป็นขี้กลัว ดังนั้นไม่ว่าจะลงทุนอะไรก็แล้วแต่ ต้องดูและศึกษาข้อมูลก่อน เพราะลงทุนไปแล้วกลัวเจ๊ง แต่ถ้าจะให้เอาเงินฝากแบงก์ไว้เฉยๆ ก็ได้ดอกผลน้อย เช่นฝากแบงก์ตอนนี้ได้ดอกเบี้ยแค่ 2% กว่าเท่านั้น ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อก็สูง ถ้าเอาเงินฝากแบงก์ไว้ก็เท่ากับเงินเราหายไป

โดย หลักการคือจะไม่เอาเงินเก็บทั้งหมดไปลงทุนในแหล่งเดียว เพราะทำแบบนั้นเสี่ยงเกินไป และการลงทุนต้องเป็นระยะยาว ลงทุนแล้วจะได้ไม่เครียดจนเกินไป

“พอสถานการณ์เป็นอย่างนี้ แอร์ก็เลยคิดว่า ถ้าอย่างนั้นเราจะทำอะไรกับเงินก้อนนี้ดี ตอนนี้แทนที่จะฝากไว้อย่างเดียว ก็กระจายบางส่วนไปซื้อพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งก็ได้ดอกผลมากขึ้น นอกจากนี้ก็มีอีกส่วนเอาไปซื้อทอง จำได้ว่าเคยเก็บเงินได้ก้อนหนึ่งแล้วก็เอาไปซื้อทองคำ 10 บาท สังเกตว่าช่วงตรุษจีนทีไรราคาขึ้นทุกที ก็เลยรอจังหวะแล้วเอาไปขาย ได้ผลตอบแทนกลับมานิดหน่อย แต่ก็ทำให้เราเห็นว่าทองคำเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ทำให้เงินงอกเงยได้ ก็เลยเริ่มเล่นทอง”

พอเริ่มมีเงินออมมากขึ้น พ.ญ.อัญชุลีบอกว่าเธอเริ่มต่อยอดเงินทองด้วยการเอาเงินก้อนหนึ่งไป ดาวน์คอนโดมิเนียม ในย่านที่ทำเลดีและมีอนาคต เช่นแถวไหนที่มีรถไฟฟ้าบีทีเอสวิ่งผ่าน ก็น่าจะเป็นแหล่งที่น่าจะมีศักยภาพ เมื่อราคาวิ่งขึ้นไปสูงแล้วค่อยขาย

“คิดว่าพอบีทีเอสส่วนต่อเติม เปิดใช้ ราคาคงขยับขึ้น รอให้ถึงช่วงพีคเราค่อยขาย ถึงจะได้ราคา แต่ต้องเลือกโครงการที่ดีๆ หน่อยนะ ที่จริงไม่มีประสบการณ์เท่าไหร่ อันนี้ถือว่าเป็นมือสมัครเล่นในเรื่องการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ แต่พอเริ่มลองแล้วก็อยากลงทุนอีก ตอนนี้ไปดูบางแห่ง ถ้าแพงมากไปก็ไม่เหมาะ เพราะอาจจะขายยาก จะลงทุนในพวกนี้บางทีต้องดูหลายๆ อย่างประกอบกัน กำลังการผ่อนของเราก็สำคัญด้วย”

นอกจากนี้ พ.ญ.อัญชุลียังจัดสรรเงินบางส่วนลงทุนในตลาดหุ้น เพราะอย่างที่รู้กันว่าผลตอบแทนในตลาดหุ้นมากก็จริงแต่ก็เสี่ยงมากด้วย ถ้าเราเอาเงินออมทั้งก้อนไปลงทุน ก็อาจจะเสี่ยงเกินไป

“เคยมีเพื่อน เล่นแล้วขาดทุน เพราะเขามั่นใจในตัวเองว่าฉันเดาถูก ทายถูก เลยพลาด ส่วนแอร์ไม่กล้าลงทุนตรงนี้เยอะมาก ก็อาศัยอ่านหนังสือและศึกษาข้อมูลดูว่าควรจะลงทุนอะไร นอกจากนี้ ก็ถามผู้รู้ อีกส่วนหนึ่งคือ แบ่งเงินไปให้คนที่เราไว้ใจลงทุนให้ แล้วแบ่งเปอร์เซ็นต์ให้เขา เพราะเราเล่นเองไม่เก่ง โชคดีที่ตอนนี้ยังไม่มีประสบการณ์ที่แย่ๆ มีแต่กรณีที่เสียดายที่ขายเร็วไปเช่นหุ้นปตท. แอร์ว่า ตลาดหุ้น ถ้าเล่นเป็น เล่นเก่ง ก็คงทำกำไรได้”

พ.ญ.อัญชุลีทิ้งท้ายไว้ว่า สำหรับการลงทุน ต้องเผื่อใจไว้สำหรับการขาดทุนด้วยเหมือนกัน ไม่ใช่คิดว่าจะได้กำไรอย่างเดียว เวลาผิดพลาดขึ้นมาจะได้ไม่เครียด

ความลับของประกันชีวิต:ลงทุนต่ำ กำไรสูง ไร้ความเสี่ยง
ผู้อ่านจำนวนไม่น้อยคงมีกรมธรรม์ประกันชีวิต บางท่านอาจมากกว่าหนึ่งฉบับ ท่านที่ยังไม่มีก็เชื่อแน่ว่าเกินครึ่งหนึ่งต้องเคยมีตัวแทนประกันชีวิตมาชักชวนให้ซื้อกรมธรรม์ และเชื่ออย่างแน่นอนว่า ทุกท่านคงได้ยินเรื่องประกันชีวิตมาแล้วไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ไม่มากก็น้อย

ปัจจุบันการประกันชีวิตเป็นความจำเป็นอีกอย่างหนึ่งของชีวิต แต่ก่อนฝรั่งจะพูดเสมอว่า Nothing is certainly, but tax and dead. แปลเป็นไทยทำนองว่า ไม่มีอะไรแน่นอนนอกจากภาษีและความตาย แต่ในปัจจุบันนี้ต้องรวมเอาประกันชีวิตเข้าไว้ด้วย

ทำไมประกันชีวิตจึงจำเป็นสำหรับผู้คนในปัจจุบัน ก็เพราะชีวิตมีความเสี่ยง ไม่ใช่ว่าเพิ่งจะมีความเสี่ยงในยุคปัจจุบันนี้เท่านั้น ความเสี่ยงของมนุษย์มีมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์แล้ว มนุษย์ก็พยายามคิดค้นเครื่องมือนานาชนิดขึ้นเพื่อป้องกันความเสี่ยง ในกรณีที่ป้องกันไม่ได้ก็ใช้ชดเชยความเสี่ยง หรือบรรเทาความเสี่ยง ในบรรดาเครื่องมือที่ใช้ชดเชยความเสี่ยงและบรรเทาความเสี่ยงที่ว่านั้นอย่างหนึ่งก็คือการประกันชีวิต

ความเสี่ยงมีหลายรูปแบบ ที่เข้าใจกันง่ายๆและเกิดขึ้นแน่นอนก็คือความเสี่ยงที่จะสูญเสียชีวิต ไม่ว่าด้วยเหตุใดๆก็ตาม ยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจนก็คือ ทุกคนที่ออกจากบ้านไปทำงานหรือทำธุระในตอนเช้า เมื่อถึงตอนเย็น คนกลับถึงบ้านน้อยกว่าคนออกจากบ้าน คนที่กลับไม่ถึงบ้านคือคนที่สูญเสียชีวิต โดยไม่มีวันกลับถึงบ้านอีกตลอดไป หรืออย่างดีก็บาดเจ็บ ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล นี่คือความจริง ข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ยืนยันได้ในทุกๆเช้าโดยไม่เว้นวันหยุด

ลองนึกภาพต่อไปอีก คนที่ออกจากบ้านแล้วไม่กลับมาเลยคือคนที่เป็นหัวหน้าครอบครัว เป็นธนาคารของครอบครัว เมื่อธนาคารล้มลง เงินก็สูญ ถ้าหากคนนั้นเป็นพ่อเป็นสามี ลูกเมียซึ่งเป็นเสมือนลูกค้าของธนาคารก็ย่อมเดือดร้อน

การประกันชีวิตคือเครื่องมือที่เข้ามาชดเชยความสูญเสีย เมื่อธนาคารของครอบครัวล้มลง ประกันชีวิตเข้ามารับผิดชอบแทนธนาคาร อย่างน้อยก็ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ไม่ให้ลูกค้าของธนาคารต้องล้มตามไป

เมื่อการประกันชีวิตเป็นการชดเชยความเสี่ยง การที่จะได้สิ่งชดเชยก็ย่อมมีการลงทุน การประกันชีวิตจึงเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง แต่เป็นการลงทุนที่ต่างจากการลงทุนอย่างอื่น ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ เป็นการลงทุนที่ลงทุนต่ำ มีผลตอบแทนแน่นอน และแทบไม่มีความเสี่ยง

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

คำตอบก็คือการลงทุนในกรมธรรม์ประกันชีวิต เป็นการลงทุนร่วมกันของบรรดาผู้ซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต โดยมีบริษัทประกันชีวิตเป็นผู้จัดการบริหารการลงทุน ยกตัวอย่าง บริษัทประกันชีวิตเอื้ออาทร จำกัด มีผู้ซื้อกรมธรรม์ 100,000 คน จ่ายเบี้ยประกัน คนละ 10,000 บาท รวมเงินเบี้ยประกันทั้งสิ้น 1,000,000,000 บาท เงินจำนวนนี้บริษัทเป็นผู้บริหาร โดยนำไปลงทุนในกิจการต่างๆเพื่อให้งอกเงยเพิ่มพูนขึ้นมา

เมื่อเกิดเหตุใดๆก็ตามกับผู้ซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต สมมตินาย พานทองเค ริมวัด เป็นผู้ซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต เกิดเสียชีวิตขึ้นมา นายพานทองเค ริมวัด ชำระเบี้ยแล้ว 10,000 บาท โดยมีทุนประกัน 1,000,000 บาท เงื่อนไขในกรมธรรม์กำหนดให้บริษัทต้องจ่ายเงินชดเชยให้ผู้รับผลประโยชน์ของนายพานทองเค 1,000,000 บาท บริษัทก็จะแบ่งเงินที่คน หนึ่งแสนคนจ่ายเบี้ยมาคนละหนึ่งหมื่นบาทมาให้ทายาท เฉลี่ยแล้วคนหนึ่งแสนคนช่วยกันจ่ายแค่คนละ 10 บาทเท่านั้น
หากนายพานทองเค ริมวัด ไม่เป็นอะไร มีชีวิตอยู่จนครบสัญญา สมมุติสัญญา 40 ปี นายพานทองเคชำระเบี้ยปีละ 10,000 บาท สี่สิบปีก็สี่สิบหมื่นหรือ 400,000 บาท นายพานทองเค ริมวัดได้รับเงินคืนเต็ม 1,000,000 บาทตามทุนประกันที่ทำไว้ ได้ผลตอบแทนในรูปกำไร 600,000 บาท

ผลตอบแทนจากกรมธรรม์ประกันชีวิต ทั้งประเภทเสียชีวิตและอยู่ครบสัญญานั้น เป็นผลตอบแทนที่แน่นอน ไม่ผิดไปจากนี้ ถึงแม้ภาวะเศรษฐกิจจะต่ำลงถึงก้นเหว นายพานทองเค ริมวัด ก็ได้รับผลตอบตอบแทนตามสัญญาในกรมธรรม์แน่นอน
ความหมายอีกอย่างหนึ่งก็คือ การลงทุนในกรมธรรม์ประกันชีวิตนั้น ก็คือการออมเงินนั่นเอง

นี่คือความลับของการลงทุนผ่านกรมธรรม์ประกันชีวิต คือลงทุนต่ำ อย่างเช่น นายพานทองเค ริมวัด ตามตัวอย่าง ลงทุนเพียงปีละ 10,000 บาท แต่ได้ผลตอบแทนแน่นอนไม่ว่าจะเกิดเหตุใดขึ้น และไม่มีความเสี่ยงว่าเงินที่ลงทุนไปนั้นจะสูญหาย
นอกจากนี้แล้ว เงินที่ได้ตามสัญญากรมธรรม์ประกันชีวิต ได้รับยกเว้นภาษี ซึ่งก็คือรับเต็มๆทุกสตางค์ เบี้ยประกันชีวิตที่จ่ายไปนั้นก็สามารถนำไปหักลดหย่อนในการคำนวณรายได้เพื่อชำระภาษีตอนสิ้นปีสูงสุดถึง 100,000 บาท อีกด้วย

การประกันชีวิตนั้นมีกฎหมายควบคุมเฉพาะ คือพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2535 มีกรมการประกันภัยเป็นผู้ดูแลควบคุมให้บริษัทประกันชีวิตปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด การลงทุนของบริษัทประกันชีวิตก็มีกรอบควบคุมอย่างรัดกุม ห้ามไม่ให้ลงทุนในกิจการที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อไม่ให้เงินที่ผู้เอาประกันชำระเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทฯต้องสูญเสียไป ทุกบริษัทต้องส่งเงินเข้ากองทุนกลางตามสัดส่วนของเบี้ยประกันภัยรับในแต่ละปี ถึงแม้บริษัทจะปิดกิจการลงด้วยเหตุใดก็ตาม ผู้เอาประกันก็จะได้เงินคืนอย่างแน่นอน

เมื่อชีวิตมีความเสี่ยง โดยทุกคนที่ออกจากบ้านในตอนเช้ามีสิทธิ์ที่จะไม่ได้กลับเข้าบ้านเท่าๆกัน ขึ้นอยู่กับว่าใครจะโชคร้ายกว่าคนอื่น ถึงแม้ไม่สามารถป้องกันความเสี่ยงนั้นได้ แต่ก็มีวิธีการที่จะชดเชยความเสี่ยงนั้นด้วยการประกันชีวิต อันเป็นเครื่องมือชดเชยความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ

ประเทศที่มีความก้าวหน้าในโลก ประชากรต่างมีประกันชีวิตในอัตราที่สูงมาก ประเทศญี่ปุ่น จำนวนกรมธรรม์ประกันชีวิตต่อจำนวนประชากรสูงถึง 3 เท่า นั่นหมายความว่าเฉลี่ยแล้วคนญี่ปุ่นหนึ่งคนมีกรมธรรม์ประกันชีวิตถึง 3 ฉบับ ในประเทศสิงคโปร์ ประชากรถือกรมธรรม์ประกันชีวิตถึงกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ในประเทศเกาหลี มาเลเซีย ก็อยู่ในอัตราสูงเช่นกัน ส่วนประเทศไทยมีเพียง 10 กว่าเปอร์เซ็นต์เท่านั้น

การซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตคือการออมเงินอย่างหนึ่ง หากประเทศใดมีกรมธรรม์ประกันชีวิตมาก เงินออมก็ย่อมมีมาก ส่งผลถึงความเข้มแข็งของเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เพราะเงินออมเหล่านี้ส่วนหนึ่งก็นำไปลงทุนในกิจการต่างๆ โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาล

ประโยชน์มากมายเช่นนี้ มีกรมธรรม์ประกันชีวิตสักฉบับก็ไม่เสียหาย มีแล้วมีเพิ่มอีกก็ไม่ผิดอันใด.

โดย..กาญจนา หงษ์ทอง