ตายแล้วไปไหน ไม่มีใครรู้ หลายคนไม่อยากจะนึกถึงเพราะความตายเป็นเรื่องที่น่ากลัวและเป็นเรื่องไม่ดีที่จะต้องมานึกถึงวันตายของตัวเอง แต่ความจริงแล้ว การลองคิดคำนวณถึงงบประมาณที่จะต้องใช้ในการจัดงานศพ กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนควรจะทำ เพื่อจัดเตรียมงบประมาณไว้จำนวนหนึ่งสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในงานศพของตนเอง ทั้งนี้ก็เพื่อให้ลูกหลานญาติมิตรที่อยู่เบื้องหลังไม่ต้องเดือดร้อน จึงเป็นที่มาของการจัดเตรียมงบประมาณส่วนหนึ่งไว้สำหรับการดังกล่าวในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ปรากฏให้เห็นผ่านการทำประกันชีวิตหรือกองทุนฌาปนกิจต่างๆ ประมวลกฎหมายแพ่งละพาณิชย์ มาตรา 15 บัญญัติหลักเกณฑ์การเริ่มและการสิ้นสุดสภาพบุคคลไว้ว่า “สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอด แล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้อธิบายว่า “การตาย หมายถึงสิ้นใจ สิ้นชีวิต ไม่เป็นอยู่ต่อไป สิ้นสภาพของการมีชีวิต” ทุกวันนี้คิดหรือวางแผนก่อนตายหรือยัง? จากนาทีสิ้นลมถึงเชิงตะกอน ต้องจ่ายอะไรและเท่าไร? เมื่อความตายเกิดขึ้นแล้ว สิ่งที่ผู้ที่ยังอยู่ต้องทำให้แก่ผู้จากไปนั่นก็คือ “งานศพ” อาจจะเป็นงานศพหรูหรา หรืองานศพแบบธรรมดา ตามแต่เจ้าภาพต้องการ แต่รู้ไหมว่า งานศพแต่ละงานนั้น มีค่าใช้จ่ายในเกือบจะทุกขั้นตอน ดังนี้

  • เมื่อใกล้สิ้นใจ สิ้นชีวิต
  • เมื่อสิ้นใจ สิ้นชีวิต
  • พิธีในวันแรก (รดน้ำศพ)
  • พิธีสวดบำเพ็ญกุศล
  • พิธีทำบุญเลี้ยงเพลพระ (วันฌาปนกิจ)
  • พิธีฌาปนกิจ
  • พิธีเก็บอัฐ

นับจากขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้ายของการจัดการงานศพ โดยทั่วไปค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ ประมาณ 100,000 – 200,000 บาท ขึ้นอยู่กับจำนวนวันในการตั้งบำเพ็ญกุศลศพ โดยส่วนใหญ่จะนิยม 3 วัน หรือ 5 วัน ซึ่งรายละเอียดในการจัดการงานศพของสมาชิกในแต่ละครอบครัว ย่อมมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ ประการ เช่น การเตรียมการแต่เนิ่นๆ การเตรียมการสั่งเสียก่อนจากไป ความมั่นคง ความพร้อม และร่วมมือร่วมใจ สามัคคีของลูกหลาน เป็นต้น ดังนั้นก่อนตาย สามารถเตรียมความพร้อมและค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นหลังความตายมาเยือน จัดเตรียมงบประมาณไว้จำนวนหนึ่งสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในพิธีศพของตนเอง ผ่านกรมธรรม์ประกันชีวิต วันนี้คุณเตรียมตัว .. ก่อนตายหรือยัง ?

ขอบคุณ: เอกสารบางส่วนจาก RAM 6003 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง