เช็คจังหวะทางการเงิน

ในยุคเศรษฐกิจเช่นปัจจุบัน การวางแผนทางการเงินเป็นเรื่องสำคัญที่คุณไม่ควรมองข้าม ดังนั้น ฉบับนี้ เราจึงขอชวนคุณมา “ตรวจเช็คจังหวะทางการเงิน” เพื่อให้คุณได้ทราบว่าสุขภาพทางการเงินของคุณขณะนี้เป็นอย่างไร แบบทดสอบด้านล่างนี้จะตอบคุณได้ พร้อมทั้งแนะแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เงินของคุณให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในการวางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขี้นค่ะ

โปรดเลือกเพียงคำตอบเดียว

1. ปัจจุบันคุณมีรายได้หลักมาจากแหล่งใด
ก. เงินเดือน ค่าจ้าง
ข. รายได้จากธุรกิจส่วนตัว หรือการประกอบอาชีพอิสระ
ค. ไม่มีรายได้ประจำ

2. นอกจากรายได้ในข้อ 1. แล้ว คุณยังมีรายได้มาจากแหล่งอื่นอีกหรือไม่
ก. ไม่มี
ข. มี… แต่รายได้ไม่ค่อยแน่นอน
ค. มี… ทั้งยังแน่นอนและต่อเนื่อง

3. โดยทั่วไป คุณจะ…
ก. แบ่งเงินออมไว้ก่อน เหลือแล้วค่อยใช้
ข. ใช้ก่อน เหลือแล้วค่อยออก
ค. อยากออม แต่ไม่เคยมีเงินพอใช้ถึงสิ้นเดือนเลย

4. ที่ผ่านมาคุณออมเงินคิดเป็นร้อยละเท่าใดของรายได้ต่อเดือน
ก. น้อยกว่า 10%
ข. 10% – 20%
ค. มากกว่า 20%

5. ถ้าคุณได้รับเงินรางวัล 1,000,000 บาท คุณจะ…
ก. ใช้เงินซื้อของที่อยากได้ทั้งหมด
ข. แบ่งไปออมสัก 500,000 บาท และแบ่งไว้ใช้อีก 500,000 บาท
ค. เก็บไว้ โดยฝากธนาคารหรือลงทุนทั้ง 1,000,000 บาท

6.ปัจจุบันคุณมีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินที่ทำให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้โดยไม่มีรายได้ นานที่สุดกี่เดือน
ก. ไม่เกิน 3 เดือน
ข. ประมาณ 3 – 6 เดือน
ค. มากกว่า 6 เดือน

7. เวลาคุณจะใช้เงินซื้ออะไรบางอย่าง คุณจะ…
ก. พิจารณาว่าจำเป็นและได้ใช้ จึงจะซื้อ
ข. หากมีการลดราคา 50% – 70% จึงจะซื้อ
ค. อยากได้ก็ซื้อ

8. ในแต่ละเดือน คุณมีภาระต้องชำระหนี้สินทุกประเภทคิดเป็นร้อยละเท่าใดของรายได้
ก. 0 – 25%
ข. 25 – 45%
ค. มากกว่า 45%

9. ปัจจุบันคุณมีบัตรเครดิตที่มียอดคงค้างและต้องชำระดอกเบี้ยอยู่กี่ใบ
ก. ไม่มีบัตร หรือไม่มียอดคงค้างเลย
ข. 1 – 2 ใบ
ค. ตั้งแต่ 3 ใบ ขึ้นไป

10. สมมุติว่าคุณมีหนี้อยู่หลายประเภท คุณคิดว่าหนี้ประเภทใดที่เป็นปัญหากับชีวิตของคุณมากที่สุด
ก. เงินกู้นอกระยะหรือหนี้บัตรเครดิต
ข. เงินกู้ระยะสั้น เช่น เงินกู้ค่าผ่อนชำระสินค้า สินเชื่อส่วนบุคคล ฯลฯ
ค. เงินกู้ระยะยาว เช่น เงินกู้เพื่อซื้อบ้าน ฯลฯ

11. กรณีที่คุณเป็นเสาหลักของครอบครัว และไม่สามารถทำงานหารายได้ได้อีกต่อไป คุณคิดว่าครอบครัวของคุณจะเป็นอย่างไร
ก. เดือดร้อนแน่ เพราะขาดหลักประกันในชีวิต
ข. เดือดร้อนพอประมาณ เพราะมีเงินออมและทำประกันชีวิตไว้บ้างนิดหน่อย
ค. ไม่เดือดร้อนเลย เพราะมีเงินออมและทำประกันชีวิตเพื่อเป็นหลักประกันแก่ตนเองและครอบครัวเอาไว้แล้ว

เกณฑ์การให้คะแนน

คำถามข้อที่

 1

 2

 3

 4

 5

6

7

8

9

10

11

ตอบข้อ ก.

2

0

2

0

0

0

2

2

2

0

0

ตอบข้อ ข.

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

ตอบข้อ ค.

0

2

0

2

2

2

0

0

0

2

2

(ขอขอบคุณตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ให้การสนับสนุนข้อมูล)

ผลการทดสอบ

0 – 6 คะแนน สุขภาพทางการเงินของคุณอยู่ในระดับอ่อนแอ
มีสัญญาณบ่งบอกถึงความอ่อนแอในสุขภาพทางการเงินของคุณ อาจเพราะคุณมีมุมมอง ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้จ่ายที่มุ่งเน้นความสะดวกสบายในปัจจุบัน แต่หากคุณจะใช้จ่ายอะไร ลองพิจารณาถึงความจำเป็น พร้อมทั้งหาทางเพิ่มรายได้ให้มากขึ้น เพียงเท่านี้สุขภาพทางการเงินของคุณก็จะแข็งแรง เป้าหมายชีวิตและเป้าหมายทางการเงินก็จะเป็นไปตามที่ตั้งใจไว้

7 – 15 คะแนน คุณมีสุขภาพทางการเงินระดับปานกลาง
จริงๆ แล้วสุขภาพการเงินของคุณอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทั่วไป แต่เพื่อความไม่ประมาท การเพิ่มความระมัดระวังด้านการใช้จ่ายที่เกินความจำเป็น จะช่วยเพิ่มพูนเงินออมหรือเงินลงทุน ส่งผลให้สุขภาพทางการเงินของคุณมีความแข็งแรงมากขึ้น เป็นการสร้างความมั่งคั่ง มั่นคงให้กับตนเอง และบรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งใจไว้

16 คะแนนขึ้นไป คุณมีสุขภาพทางการเงินระดับดีมาก
ขอแสดงความยินดี… ที่คุณมีสุขภาพทางการเงินแข็งแรงดีมาก อาจเป็นเพราะคุณมีมุมมอง ทัศนคติ และพฤติกรรมเกี่ยวกับการหารายได้และการใช้จ่ายที่ดี อีกทั้งยังมีวินัยในการออมสูง จึงทำให้คุณมีโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งใจไว้ แต่เพื่อความไม่ประมาท คุณควรรักษาสิ่งดีๆ เหล่านี้ไว้ พร้อมทั้งเพิ่มพูนความมั่งคั่งให้ตนเองด้วยการออมและลงทุนอย่างต่อเนื่อง สุขภาพทางการเงินของคุณจะแข็งแรงอย่างนี้ตลอดไป

สุขภาพทางการเงินของคุณเป็นอย่างไรบ้างคะ อ่อนแอ ปานกลาง หรือว่าแข็งแรงดีมาก อย่างไรก็ตาม การวางแผนการเงินมีความสำคัญต่อทุกๆ คน และควรเริ่มลงมือทำอย่างเป็นรูปธรรมยิ่งเร็วยิ่งดี