เมื่อใกล้สิ้นปีกิจกรรมอย่างหนึ่งของผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือผู้มีหน้าที่เสียภาษี คือการเตรียมตัวยื่นภาษีเงินได้ที่หามาได้ทั้งปีก่อนถึงสิ้นปี ลองมาดูว่าถ้าจะ “วางแผนภาษีตัวเองด้วยค่าลดหย่อน” จะต้องทำอย่างไรบ้าง

ไม่มีอะไรยุ่งยากค่ะ .. เริ่มที่ดูรายได้ที่เรามีว่าอยู่ในเงินได้พึงประเมินประเภทอะไรบ้าง ตั้งแต่ มาตรา 40(1) ถึง มาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ตาม เราต้องเข้าใจเรื่องประเภทของรายได้พึงประเมิน และเงื่อนไขการใช้ค่าลดหย่อนแต่ละประเภทซะก่อน ซึ่งขอสรุปคร่าวๆ ดังนี้

มาตรา 40(1) : เงินเดือน, ค่าจ้างทำงานให้, เบี้ยเลี้ยง, โบนัส หรือรายได้ของ “มนุษย์เงินเดือน”
มาตรา 40(2) : รับจ้างทำงานให้, ค่านายหน้า, ค่าที่ปรึกษา หรือรายได้ของอาชีพ “ฟรีแลนซ์”
มาตรา 40(3) : รายได้จากค่าลิขสิทธิ์, สิทธิบัตร, แฟรนไชส์
มาตรา 40(4) : รายได้จากการลงทุน (ดอกเบี้ย, ปันผล) *ยกเว้นกำไรจากการขายหุ้น ไม่เสียภาษี
มาตรา 40(5) : รายได้จากค่าเช่าทรัพย์สิน
มาตรา 40(6) : รายได้จากวิชาชีพอิสระ ได้แก่ โรคศิลป์ (หมอ, เภสัช, พยาบาล), นักกฎหมาย, นักบัญชี, สถาปนิก,
วิศวกร และประณีตศิลป์
มาตรา 40(7) : รายได้จากการรับเหมาก่อสร้าง
มาตรา 40(8) : รายได้จากธุรกิจส่วนตัวที่ไม่ใช่นิติบุคคล รวมถึงเงินได้อื่นๆที่ไม่จัดอยู่ใน 7 ประเภทแรก

หลักจากทำความเข้าใจประเภทของเงินได้พึงประเมินแล้ว ต่อไปมาดูรายการค่าลดหย่อนตามสิทธิ์ และที่ใช้สิทธิ์อยู่ในปัจจุบัน ภายใต้เงื่อนไขรายการหักค่าลดหย่อน ดังนี้

1. หักค่าใช้จ่าย ผู้มีเงินได้ 40% ไม่เกิน 60,000 บาท
2. ลดหย่อนส่วนตัว บุคคลธรรม 30,000 บาท คณะบุคคล/ห้างหุ้นส่วนสามัญ 60,000 บาท
3. ลดหย่อนคู่สมรส 30,000 บาท กรณีไม่มีเงินได้ หรือยื่นร่วม
4. บุตรไม่เกิน 3 คน คนละ 15,000 บาท หากเรียนอยู่ไม่เกินระดับอุดมศึกษา ได้คนละ 17,000 บาท ไม่เกิน 3 คน
5. อุปการะเลี้ยงดูบิดา-มารดา คนละ 30,000 บาท (อายุ 60 ปีขึ้นไป และมีเงินได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี)
6. อุปการะเลี้ยงดูบิดา-มารดา คู่สมรส คนละ 30,000 บาท กรณีไม่มีเงินได้หรือยื่นร่วม (อายุ 60 ปีขึ้นไป และมีเงินได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี)
7. ค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ หรือทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท (มีเงินได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี)
8. เบี้ยประกันชีวิต ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
9. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ (Annuity) ตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่เกินร้อยละ 15 ของรายได้รวมทั้งปีและไม่เกิน 200,000 บาท
10. เบี้ยประกันสุขภาพ บิดา-มารดา ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
11. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 และไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินเดือน/ค่าจ้าง
12. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ และไม่เกิน 500,000 บาท
13. เงินลงทุนใน LTF ตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่เกินร้อยละ 15 แต่ไม่เกิน 500,000 บาทของรายได้รวมทั้งปี
14. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
15. กองทุนสงเคราะห์ครู โรงเรียนเอกชน ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
16. เงินค่าชดเชยทีี่ได้รับตามกฎหมายแรงงาน ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 300,000 บาท ของค่าจ้าง 300 วันสุดท้าย
17. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม เพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
18. ประกันสังคม ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 9,000 บาท
19. เงินสนับสนุนการศึกษา หักได้ 2 เท่าของเงินบริจาค แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน
20. เงินบริจาคทั่วไป หักเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน
21. ค่าเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2557 ถึง 31 ธันวาคม 2558 ไม่เกิน 15,000 บาท
22. ลดหย่อนกรณีผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป หรือเป็นคนพิการ ลดหย่อนได้ไม่เกิน 190,000 บาท
23. อื่นๆ ตามกฎหมายกำหนด
หมายเหตุ:
– เงินได้พึงประเมินรวมทั้งปีที่นำมาคิดจำนวนเงินออมหรือลงทุน ในประกันชีวิตแบบบำนาญ, RMF และ LTF ต้องเป็นเงินได้พึงประเมินที่ “ไม่ได้รับยกเว้นภาษี” เท่านั้น ห้ามนำเงินได้พึงประเมินที่ได้รับการยกเว้นภาษีเข้ามารวมคิด
– เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ (Annuity) + กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) + กบข. + กองทุนครู + RMF ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

หลังจากวางแผนรายการค่าลดหย่อนตามสิทธิ์ และที่ใช้สิทธิ์อยู่ในปัจจุบันเรียบร้อย ก็จะเห็นสิทธิ์ที่เหลืออยู่อีกเท่าไหร่ ซึ่งเราสามารถจะวางแผนใช้ค่าลดหย่อนเพิ่มเติมได้อีก ดังนี้
1. ใช้สิทธิ์เบี้ยประกันชีวิต สูงสุด 100,000 บาท ใช้สิทธิ์แล้ว ….. สิทธิ์ที่ยังเหลืออยู่ ……..
2. ใช้สิทธิ์เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ สูงสุด 200,000 บาท ใช้สิทธิ์แล้ว ….. สิทธิ์ที่ยังเหลืออยู่ ……..
3. ใช้สิทธิ์ RMF ใช้สิทธิ์แล้ว ….. สิทธิ์ที่ยังเหลืออยู่ ……..
4. ใช้สิทธิ์ LTF ใช้สิทธิ์แล้ว ….. สิทธิ์ที่ยังเหลืออยู่ ……..

หลังวางแผนเรียบร้อย ผลของการเพิ่มค่าลดหย่อนเข้าไป หรือภาษีที่ประหยัดได้ คือตัวเลข “ภาษีที่ประหยัดได้เพิ่ม” นั่นคือตัวเลขที่บอกเราว่า เราวางแผนแล้ว จะช่วยให้ได้เงินภาษีคืนเพิ่มมาเท่าไหร่

ถึงตรงนี้หากยังงงๆไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร สอบถามแม่แก้ว ออมสินดอทเน็ต เรามีทีมงานที่ปรึกษาการเงินมืออาชีพคอยช่วยเหลือทุกคน ที่ยังมีข้อสงสัย โทรเลย 081-7743466

FREE!! คุณจะได้รับ ตารางวางแผนภาษีตัวเองด้วยค่าลดหย่อน สำหรับปี 2558 (PDF file)ตาราง วางแผนภาษีด้วยค่าลดหย่อน