1. ละเลยการวางแผนการเงิน
ความคิดที่ว่าเราไม่มีเวลาหรือรายได้ไม่เพียงพอที่จะจัดการหรือวางแผนการเงินได้นั้นคือหลุมพรางที่เราขุดไว้ดักตัวเองไม่ให้มีโอกาสพบอิสรภาพทางการเงินได้ในอนาคต ยิ่งเริ่มต้นวางแผนการเงินเร็วมากเท่าไร มีเป้าหมาย มีวินัย มีความสม่ำเสมอ ความฝันของเราที่จะมีอิสรภาพทางการเงินก็จะยิ่งเกิดขึ้นเร็วเท่านั้น
2.ใช้ก่อนนอนทีหลังขาดแผนการออม
การใช้ก่อนออมทีหลังทำให้ระบบการออมของเราเป็นแบบเปะปะไร้เป้าหมายและอยากที่จะสานฝันให้เป็นจริงได้ หลักสำคัญคือเลือกวิธีการออมไม่ว่าจะเป็นพันธบัตร สลาก หรือสหกรณ์ เมื่อได้รับรายได้แล้วให้ออมก่อน 20% หากออมได้สม่ำเสมอไปตลอดอายุการทำงาน รับรองว่าในอนาคตการไม่ลำบากทางการเงินแน่นอนค่ะ
3. ลงทุนแบบไร้แผนไม่แม่นข้อมูลความรู้
ศึกษาและมองหาการลงทุนในช่องทางอื่นๆ เพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในตลาดหุ้น กองทุนประเภทต่างๆอสังหาริมทรัพย์ หรือทองคำ แต่ไม่ว่าจะวางแผนลงทุนอย่างไร ต้องไม่ลืมกฎ “การกระจายความเสี่ยง” เด็ดขาดและเคล็ดลับคือเลือกลงทุนในช่องทางที่มีความเสี่ยงในระดับที่เราพอรับได้ แล้วศึกษาข้อดีข้อเสียของการลงทุนนั้นอย่างรอบด้าน โดยเลือกช่องทางที่เหมาะสมกับรายได้ของเรามากที่สุด
4. ไม่มีแผนบริหารความเสี่ยง
เพราะโลกทุกวันนี้เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน การป้องกันความเสี่ยงด้วยการทำประกันในรูปแบบต่างๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อรองรับเหตุการไม่คาดฝัน แต่การทำประกันนั้นก็ควรทำในวงเงินที่เหมาะสม และผ่านกระบวนการคิดที่ถี่ถ้วนแล้ว วิธีหนึ่งที่แนะนำคือ ทำประกันให้คอบคุมภาระทั้งหมด เช่น ค่าเล่าเรียนของลูก ค่ารักษาพยาบาล
5. ลืมคิดแผนเผื่อเกษียณ
ด้วยธรรมชาติของช่วงวัยนี้ที่จะไม่มีรายได้ประจำ และร่างกายก็ถดถอยลง จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่เราต้องมีเงินจำนานมากไว้ใช้จ่ายในช่วงวัยหลังเกษียณ โดยการวางแผนออมหลากหลายรูปแบบ เช่น การลงทุนผ่านกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพประกันแบบสะสมทรัพย์ หรือลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และทองคำ
6. มองข้ามการวางแผนภาษีอากร
ถ้าในแต่ละปีเราต้องจ่ายภาษีเป็นเงินก้อนโต การวางแผนภาษีอากรน่าจะเป็นสิ่งหนึ่งที่เราหันมาให้ความสำคัญ ซึ่งปัจจุบันมีหลายช่องทางที่จะช่วยเราประหยัดภาษีได้ ไม่ว่าจะเป็นประกันเงินผ่อนบ้าน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุน RMF หรือ LTF ฯลฯ ซึ่งหากศึกษาช่องทางเหล่านี้ให้ถี่ถ้วนและวางแผนดีๆ ในแต่ละปีเราจะประหยัดภาษีได้มากเลยที่เดียวค่ะ
ที่มา Our Moments ปีที่ 5 ฉบับที่ 10
No Comment