6 ช่องทางเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี

อลิอันซ์ อยุธยา มี 6 ช่องทางเพื่อช่วยคุณในการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในปลายปีนี้ เพื่อตอบโจทย์สำหรับผู้มีเงินได้ประจำ (หรือพนักงานบริษัท) และ ผู้มีเงินได้ไม่ประจำ(หรือผู้มีรายได้จากการรับจ้างต่างๆ) ซึ่งต้องมีการยื่นเสียภาษีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – วันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป

ตามกฎหมาย ผู้มีรายได้สามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี จากค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ได้จ่ายไป เช่น file431241837386ค่าลดหย่อนของผู้มีเงินได้-คู่สมรส-อุปการะบิดามารดา ค่าเบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดา ค่าเบี้ยประกันชีวิต, ค่าซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวม RMF/LTF, ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย, เงินสมทบกองทุนประกันสังคม และเงินบริจาค เป็นต้น หากเงินได้สุทธิที่หักกรณีที่ยกเว้นภาษีและค่าลดหย่อนแล้วมีจำนวนไม่เกิน 150,000 บาท ผู้มีเงินได้ไม่ต้องเสียภาษี ดังนั้น ผู้มีเงินได้ควรบริหารจัดการแผนการออมและการลงทุนเพื่อใช้สิทธิ์ประโยชน์ทางภาษีได้อย่างเต็มที่

เรามาดูทางเลือกในการช่วยผู้มีเงินไนการบริหารจัดการในเรื่องค่าใช้จ่ายและการออมว่ามีผลิตภัณฑ์ใดบ้างที่ผู้มีเงินได้ซือแล้วสามารถใช้สิทธิ์ประโยชน์ทางภาษีได้อย่างมีประสิทฺธิภาพ

1. เงินสะสมกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญและให้ประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชเมื่อออกจากราชการ เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิก และเพื่อจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่สมาชิก หากผู้มีเงินได้มีเงินที่จ่ายเข้ากับกองทุนดังกล่าว เมื่อรวมกับเงินซื้อหน่วยลงทุน RMF ผู้มีเงินได้สามารถนำไปยกเว้นภาษีได้ ไม่เกิน 500,000 บาท
2. เงินสมทบกองทุนประกันสังคม
เป็นระบบการออมภาคบังคับสำหรับภาคเอกชน (จะได้รับสิทธิประโยชน์การคุ้มครองกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร และว่างงาน ท่านยังได้ออมเพื่อให้มีเงินใช้หลังเกษียณ) โดยหักเงินสมทบร้อยละ 5 จากเงินเดือนทุกๆ เดือน สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง
3. เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)
เป็นกองทุนที่ลูกจ้างและนายจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นด้วยความสมัครใจเพื่อให้ลูกจ้างได้มีเงินออมไว้ใช้ยามเกษียณ เงินที่ลูกจ้างจ่ายเรียกว่า “เงินสะสม” ส่วนเงินที่นายจ้างจ่ายเรียกว่า “เงินสมทบ” โดยนายจ้างจะจ่ายสมทบในจำนวนเท่ากันหรือมากกว่าที่ลูกจ้างจ่ายสะสมเสมอ เมื่อรวมกับเงินซื้อหน่วยลงทุน RMF ผู้มีเงินได้สามารถนำไปยกเว้นและลดหย่อนภาษีได้ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
4. เบี้ยประกันชีวิต การซื้อประกันชีวิตจัดเป็นส่วนผสมระหว่างการออมภาคสมัครใจและการคุ้มครองกรณีเสียชีวิต โดยเบื้ยประกันชีวิตที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

  • ประกันชีวิตที่มีความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป โดยสามารถนำเบี้ยประกันชิวิตไปยกเว้นและหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
  • ประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถนำเบี้ยประกันภัยไปยกเว้นภาษีเพิ่มเติมได้อีก 15% ของเงินได้พึงประเมินแต่ต้องไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน หรือค่าซือหน่วยลงทุน RMF และต้องไม่เกิน 500,000 บาท

5. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากการกู้ยืมเงินเพื่อ การมีที่อยู่อาศัยดอกเบี้ยเงินกู้สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีและยกว้นภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
6. เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (RMF/LTF)
RMF
เงินซื้อหน่วยลงทุน RMF สามารถนำไปยกเว้นภาษีได้ตามที่ลงจ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมิน โดยเมื่อนับรวมกับเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท

LTF เงินซื้อหน่วยลงทุน LTF สามารถนำไปยกเว้นภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมิน และต้องไม่เกิน 500,000 บาท การลงทุนใน LTF

Cr:http://www.azay.co.th/th/Enews52_Article.asp