เคยวางแผนทางการเงินกันมั้ย

หลายท่านถามว่า วางแผนไปทำไม ทำไมไม่เอาเวลาที่จะวางแผนทางการเงินไปหาวิธีการหาเงินได้ ผู้เขียนอยากแนะนำว่า “หาได้เท่าไร ไม่สู้เก็บได้เท่าไร” ครั้งหนึ่งผู้เขียนเคยถูกคุณแม่ถามผู้เขียนว่า “ลูกหาเงินเก่งอย่างนี้ รายได้ดีอย่างนี้ มีเงินเก็บเท่าไร? ผู้เขียนไม่กล้าตอบคุณแม่ว่ามีเงินเก็บเท่าไร เนื่องจากในใจคิดว่าเราน่าจะเก็บเงินได้เยอะกว่าที่เป็นอยู่ เพราะเรามีวิธีหาเงินที่ทำให้รายได้เราถือว่าอยู่ในเกณฑ์ใช้ได้เลย” คุณแม่ได้เล่าถึงพี่ชายของผู้เขียน ซึ่งเป็นทหาร มีรายได้น้อยกว่าผู้เขียนหลายเท่า แต่กลับเป็นผู้มีเงินเก็บเยอะ ว่าพี่ชายมีวิธีการวางแผนการเงินอย่างไร ตอนท้ายของการสนทนากับคุณแม่ คุณแม่ยังบอกอีกว่า “หาเงินแสนหาได้ประเดี๋ยวเดียว แต่เก็บเงินแสนนี่สิ มันนานนะ”  ทำให้ผู้เขียนต้องกลับมานั่งคำนึงอยู่นานทีเดียว ว่าเรา “หาได้รั่วหมด” ทำไมเราไม่อุดรูรั่ว จึงต้องกลับมาสำรวจตัวเองมากขึ้น และเริ่มวางแผนทางการเงินอย่างเป็นระบบ สิ่งแรกที่คิดคือ

  1. ตรวจสุขภาพทางการเงินของตัวเองก่อน โดยเริ่มทำบัญชีรับ-จ่าย ตรวจสอบทรัพย์สินทั้งหมดที่มีอยู่ว่ามีอะไรบ้าง อะไรที่เป็นรายรับ อะไรเป็นค่าใช้จ่าย แยกเป็นรายการ แล้วตั้งต้นทำให้เป็นแต่ละเดือนไป

HNCK4046-1300x867

  1. เมื่อรู้ที่มาที่ไปของรายได้ รายจ่ายแล้ว ก็ได้เวลาวิเคราะห์ข้อมูลทางเงินของตนเอง แล้วต้องเริ่มเรียนรู้วิธีการบริหารเงินที่มาจากรายได้ และต้องทราบว่าเราต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเก็บเงินอย่างไร เช่น ต้องมีวินัยในการเก็บเงินให้มากขึ้น และต้องคำนึงถึงศักยภาพในการเก็บเงินของเราด้วย ทั้งนี้ต้องเริ่มตั้งกำหนดเป้าหมายทางการเงินให้ชัดเจนไอเดีย โดยต้องมีระยะเวลากำหนดเพื่อการควบคุมที่ได้ผล  ไม่ใช่ทำไปเรื่อยๆ เช่นนั้นก็จะไม่รู้เป้าหมายว่าเก็บเงินไปเรื่อยๆ ถึงจำนวนเงินเท่าไร ที่จะตอบสนอง ณ ช่วงนั้นได้หรือไม่  การตั้งเป้าหมายต้องตั้งตามระยะเวลา ได้แก่
  • เป้าหมายระยะสั้น(1-5 ปี) เช่น ต้องการเก็บเงินภายใน 5 ปีให้ได้ 200,000 บาท, เงินเก็บสำหรับดาวน์รถ , เก็บเงินเพื่อท่องเที่ยวต่างประเทศ ฯลฯ
  • ระยะกลาง(ไม่เกิน 10 ปี) เช่น เก็บเงินสำหรับเป็นทุนการศึกษาบุตร , ซื้ออสังหาริมทรัพย์
  • ระยะยาว (10 ปีขึ้นไป) เช่น เก็บเงินสำหรับเกษียณอายุ
  1. เมื่อทราบเป้าหมายที่ชัดเจน หากวิธีการ(แผน)ที่เหมาะสมกับตัวเองให้มากที่สุด และต้องเริ่มปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยแบ่งออมที่มาจากรายได้ ให้ยึดถือว่า การออมเป็นรายจ่ายอย่างหนึ่ง  ไม่ว่าจะออมโดยวิธีใดวันนี้เป็นรายจ่าย แต่เมื่อถึงเวลาสิ้นสุดเป้าหมาย รายจ่ายนี้ก็จะเป็นเงินออมก้อนใหญ่ “เก็บก่อนใช้
  2. นำแผนไปปฏิบัติ ด้วยความตั้งใจและมุ่งมั่น มีวินัยเพื่อให้ถึงเป้าหมายนั้น
  3. หมั่นประเมินผลแผนและเป้าหมายทางการเงิน เพื่อทบทวนและตอกย้ำเป้าหมาย หากไม่เป็นไปตามแผนจะต้องปรับเปลี่ยนอะไรบ้างyes

ขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการเงินที่มีอยู่ในกระเป๋านะค่ะ

 

จากส่วนหนึ่งของหนังสือ “ประกันชีวิต ให้คุ้มค่า ไม่ยาก”
แม่แก้ว ออมสิน ดอทเน็ต