เก็บเงินให้รวย – ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร
“หาได้มากน้อยเท่าไหร่ไม่สำคัญ จ่ายมากน้อยเท่าไหร่เป็นเรื่องสำคัญกว่า คือต้องใช้ให้น้อยกว่าที่หาได้ ”
1. การเพิ่มรายได้ ควรหลีกเลี่ยงการเป็นมนุษย์เงินเดือน เพราะเป็นผู้ประกอบการจะรวยเร็วกว่า และเชื่อว่าคนที่ทำงานเก่งสำคัญกว่าคนที่เรียนเก่ง แต่ไม่ได้สนับสนุนให้ทิ้งการเรียน ควรมีการ เรียนรู้ต่อเนื่อง
2. สอนลูกให้เป็นผู้ประกอบการ โดยสอนให้มีพื้นฐานและประสบการณ์ในการทำงานตั้งแต่เด็กๆ และหากเป็นไปได้ก็ควรสนับสนุนในส่วนของทุนที่จะใช้ในการประกอบการด้วย
3. เคล็ดลับการออมเงิน
– หาได้มากน้อยเท่าไหร่ไม่สำคัญ จ่ายมากน้อยเท่าไหร่เป็นเรื่องสำคัญกว่า คือต้องใช้ให้น้อยกว่า ที่หาได้
– ควบคุมรายจ่ายถ้าอยากเก็บเงิน เมื่อได้เงินมาให้รีบแบ่งเก็บในธนาคารเพราะถ้ารอใช้ก่อนจะไม่เหลือเก็บ
– ไม่ต้องทำตามผู้อื่น ต้องมีเอกเทศของตัวเอง เราอยู่ในสังคมต้องเป็นไปตามสังคม แต่เราไม่จำเป็นต้องทำตามคนอื่นเสมอไป
– การเล่าเรียนของบุตร ควรวางแผนด้านการเรียนของบุตรโดยเน้นการศึกษาเล่าเรียนในประเทศ เพราะการศึกษาในประเทศไทยก็จัดอยู่ในระดับมาตรฐานและค่าใช้จ่ายในการเรียนไม่สูงมาก
– ต้องระวังรักษาสุขภาพของตนให้แข็งแรง และไม่ควรทำประกันภัยหรือประกันชีวิตจนเกินสมควร
– ระวังเรื่องค้ำประกัน และการให้กู้ยืม เพราะ “การให้เพื่อนยืมเงิน ท่านจะเสียเงิน เสียเพื่อนและในที่สุดก็เสียใจ”
4. บริหารเงินออมของครอบครัวและวางแผนภาษี
– การสร้างฐานะของครอบครัวให้เป็นปึกแผ่นควรยึดหลักการ “ผัวเดียวเมียเดียว” และสามีภรรยาต้องช่วยกันออมทรัพย์
– การบริหารเงินของครอบครัว จะต้องรู้ว่าคุณมีทรัพย์สมบัติอะไรบ้างที่เป็นสินเดิม หรือเป็นสินสมรสเพื่อจะได้จัดการให้เกิดประโยชน์งอกเงย และใช้จ่ายร่วมกันได้
– การบริหารเงินออมจะต้องดูแลการหมุนเวียนของเงินสดให้มีสภาพคล่อง ไม่ทำประกันชีวิตมากเกินไป และลงทุนอย่างชาญฉลาดโดยการกระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มดอกผลจากเงินออม
5. การประหยัดภาษี ควรพิจารณาว่าจะสามารถลงทุนในหลักทรัพย์ปลอดภาษี เช่นหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อลดผลกระทบจากการเสียภาษีได้หรือไม่
6. มาลดภาษีกับกองทุน RMF (Retirement Mutual Fund)
การลงทุนใน RMF สำหรับคนกินเงินเดือนนับเป็นช่องทางที่ช่วยลดภาษีได้มากที่สุด โดยควรเลือกกองทุน RMF แบบที่เหมาะกับเงินลงทุนและช่วงอายุในการลงทุนของคุณ นอกจากนี้ ยังควรวางแผนเรื่องภาษีเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ตามเงื่อนไขของกฎหมาย
7. รวบรวมทรัพย์สิน โดยจัดแยกสินสมรสและสินส่วนตัว จัดสมบัติให้ดูแลง่าย จัดการเรื่องทายาท มรดก และพินัยกรรม ที่สำคัญคือควรให้เมียรู้ทรัพย์สินทั้งหมด แต่อย่าตามใจเมียทุกเรื่อง
8. สอนลูกให้รวยน้ำใจ ด้วยการใกล้ชิดและให้ความอบอุ่นแก่ลูก พร้อมทั้งชี้แนะและในเวลาเดียวกันก็ควบคุมดูแลให้ไม่ออกนอกลู่นอกทาง
9. ภาษีการเงินสำหรับ “วัยรุ่น” – การวางแผนด้านภาษี เด็กๆ อาจให้ประโยชน์ทางภาษีแก่คุณได้เพราะเขาส่วนใหญ่ไม่มีรายได้ ทำให้อยู่ในกลุ่มผู้เสียภาษีต่ำที่สุด ดังนั้น หากคุณย้ายรายได้ส่วนหนึ่งไปให้กับตัวเด็ก คุณจะประหยัดภาษีเงินได้ลงได้
– ความรับผิดชอบต่อภาษี สำหรับวัยรุ่นที่มีรายได้ก้อนโต จะต้องหาที่ปรึกษาในการวางแผนภาษี การลงทุนและการออมทรัพย์ เพื่อเป็นการไม่ประมาท
– คำแนะนำทางการเงิน บทเรียนที่ดีสำหรับ วัยรุ่นคือแสดงให้พวกเขาเห็นว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับการตัดสินใจทางการเงินของตัวเอง ข้อสำคัญคืออย่าปรนเปรอเด็กด้วยเงินและอย่าให้บัตรเครดิต
10. ข้อสรุปการสอนลูก
– สิ่งที่ห้ามลูกทำ คือ การยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและการพนัน
– สิ่งที่ลูกต้องทำ คือ รอบรู้วิชา ซื่อสัตย์สุจริต มีความขยันขันแข็ง และความโอบอ้อมอารี
– สิ่งที่ลูกควรรู้ ควรทำ คือ ต้องช่วยเหลือตัวเองและสามารถทำงานเป็นทีม รู้จักเก็บออมเงินและมีเมตตาสงสาร และที่สำคัญคือการมีระเบียบวินัย
11. จัดการมรดกอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแนะนำให้ทำพินัยกรรมด้วยตนเอง และควรต้องตรวจสอบดูแลเป็นระยะๆ (อาจจะทุก 5 ปี)
12. แม่บ้าน
– มีเมียดีเป็นศรีแก่เรือน
– คุณสมบัติและรูปสมบัติของภรรยาที่พึงมี ได้แก่ การเป็นคนมีจิตใจงาม มีการศึกษาพอสมควร เป็นเพื่อนคู่คิด รู้จักดูแลสุขภาพ ร่างกายของตนเองให้แข็งแรงและกระฉับ-กระเฉงอยู่เสมอ และมีความรับผิดชอบในเรื่องทรัพย์สมบัติ
– แม่มักจะเป็นผู้สอนลูกเพราะมีความใกล้ชิดสนิทสนมกันมากกว่า
13. การหารายได้
– รู้จักประมาณตน คือประหยัด ไม่ใช้จ่ายเกินรายได้ที่ได้รับ
– ระวังหนี้สินและการค้ำประกัน
– ให้ลูกเมียร่วมตัดสินใจในเรื่องเงินทองของครอบครัว
14. ค่าใช้จ่าย
– หนี้สินและบัตรเครดิต (การบริหารเงินกู้) ควรมีความรู้เรื่องการบริหารหนี้เพื่อลดภาระ ต่อไปจะได้เป็นไทแก่ตัว
– ประกันภัย-ประกันชีวิต ควรพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่างๆ ก่อนตัดสินใจ
– ควรทำงบการเงินของครอบครัวเพื่อจะได้รู้สถานะทางการเงินของครอบครัวได้ชัดเจน
15. ช่วยกันออมและลงทุน
– ชายหญิง ใครใช้เงินเก่งกว่ากันและใครออมเงินเก่งกว่ากัน หากใครเก็บเงินหรือคุมค่าใช้จ่ายได้ดีกว่ากันก็ให้เป็นผู้นำในการดูแลเงิน
– เริ่มต้นออมก่อนก็จะรวยกว่า
– ผัวเมียแยกกันลงทุนดีไหม ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว ขึ้นกับความเหมาะสม
– ทรัพย์สินที่น่าลงทุนต้องดูตามแต่สถานการณ์
– ต้องช่วยกันเตือนสติ เข้าตำรา “สองหัวดีกว่า หัวเดียว”
16. ลงทุนให้ได้ดอกผลงาม
– บ้านและที่อยู่อาศัยถือเป็นสิ่งที่ให้ผลตอบแทนมากที่สุด
– เงินทองเป็นของมีค่าและซื้อเพชรให้ภรรยา เพราะเพชรและทองเป็นทรัพย์สินที่คล้ายกับบ้านคือได้ใช้ประโยชน์ ได้สวมใส่ ดูแล้วอิ่มอกอิ่มใจ และถือเป็นเงินออมประเภทหนึ่ง
– หุ้นกับเงินฝากธนาคารควรดูแลและปรับเปลี่ยนการลงทุนตามสภาวการณ์ตลาด
– ซื้อทรัพย์สินอื่น เช่น การสะสมของมีค่าต่างๆ แต่ควรเป็นของที่มีตลาดซื้อขายที่กว้าง และไม่ใช่ของผิดกฎหมายหรือผิดศีลธรรม
– มีการกระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยง
– อย่าลืมสร้างบุญกุศล เพราะคนเราจะเจริญมาได้ ก็ต้องเป็นคนดี ช่วยเหลือผู้อื่น
17. จัดรูปแบบภาษีของครอบครัว
– เรื่องภาษีจะต้องรู้ เพราะเมื่อกฎหมายทุกฉบับพิมพ์ลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ถือว่าคนไทยทุกคนต้องรู้ จะแก้ตัวว่าไม่รู้เลยไม่เสียภาษีไม่ได้
– เมียก็ช่วยลดภาษีได้ในกรณีที่มีรายได้ของตนเอง และขอแยกเสียภาษี
– ควรตั้งบริษัทเพื่อลดภาษีหรือไม่นั้น ขึ้นกับความเหมาะสมและประเภทธุรกิจ
18. แผนการเงินของคนโสด
– หาเองใช้เองประหยัดกว่าก็น่าจะจริง แต่ในบางกรณีการมีคนช่วยหารายได้ให้เป็นทวีคูณก็น่าจะเป็นการดี
– เพื่อนคู่คิดสำหรับคนโสด อาจเป็นเพื่อนสนิท หรือญาติพี่น้อง
– การคำนวณว่าต้องมีเงินออมเท่าใดจึงพอเพียง ขึ้นอยู่กับค่าใช้จ่ายของคุณ
– แก่ลงใครจะดูแล ขึ้นกับว่า “เราทำอย่างไร กับผู้อื่น เขาก็ทำกับเราอย่างนั้น” หากเราทำดีกับใคร เขาย่อมตอบแทน
19. บั้นปลายของชีวิต
– หากต้องการให้แก่แล้วมีกิน จะต้องเก็บออมตั้งแต่ยังหนุ่มสาว ดูแลรักษาสุขภาพให้ดี รู้จักควบคุมรายจ่ายให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า รายได้
– วิเคราะห์ความมั่งมีเพื่อความไม่ประมาท
– บุญกุศลช่วยท่านได้
ขอขอบคุณบทความดีๆ จาก ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร ประธานชมรมคนออมเงิน www.saverclub.org
No Comment