2014-10-15 11.04.51

รอบรู้เรื่อง… สิทธิ์การลดหย่อนภาษี
ตามประกาศอธิกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษาเงินได้ (ฉบับที่ 172)

          การใช้ประกันชีวิตเพื่อหักลดหย่อนภาษี เบี้ยประกันชีวิตสามารถนำไปใช้สิทธิ์หักลดหย่อนภาษี สูงสุดถึง 100,000 บาท

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพื่อการหักลดหย่อนภาษี
สำหรับกรมธรรม์ที่ เริ่มทำก่อน 1 มกราคม 2552 เบี้ย ประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ใช้สิทธิ์หักลดหย่อนภาษาได้ตามที่ชำระจริงสูงสุดถึง 100,000 บาท
สำหรับกรมธรรม์ที่เริ่มทำก่อน 1 มกราคม 2552 เบี้ยประกันชีวิตที่สามารถนำไปใช้สิทธิ์หักลดหย่อนภาษีได้ต้องมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
– กรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีกำหนดระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
– กรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีเงินปันผลประโยชน์ตอบแทนคืนไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันสะสม (ไม่รวมเงินปันผลตามกรมธรรม์หรือผลประดยชน์ตอบแทนที่จ่ายเมื่อสิ้นสุดการชำระเบี้ยประกัชีวิตหรือผลประโยชน์ตอบแทนที่จ่ายเมื่อสิ้นสุดอายุกรมธรรม์)
– เบี้ยประกันชีวิต หมายถึง เบี้ยประกันชีวิตของกรมธรรม์ประกันชีวิตหลัก
– เบี้ยประกันภัยของสัญญาเพิ่มเติมไม่สามารถนำมาใช้สิทธิ์หักลดหย่อนทางภาษีได้

ตัวอย่างคำถาม – คำตอบ
คำถามที่ 1  ข้อกำหนดนี้เริ่มมีผลบังคับอย่างเป็นทางการเมื่อไหร่ และเป็นข้อกำหนดฟหรือประกาศให้ทุกบริษัทประกันชีวิตที่ต้องปฏิบัติเหมือนกันหรือไม่
คำตอบ  ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 172 ประกาศ ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2551 ได้ระบุว่าให้มีผลบังคับสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ได้เริ่มทำตั้งแต่ วันที่1 มกราคม 2552  เป็นต้นไป โดยทุกบริษัทประกันชีวิตที่ได้เริ่มทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 โดยทุกบริษัทประกันชีวิตต้องปฏิบัติเหมือนกัน

คำถามที่ 2  หลักเกณฑ์ของกรมสรรพากรมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 ทำในบริษัทฯ เพิ่มแจ้งให้ทราบ
คำตอบ   บริษัทฯได้ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด และความประสงค์ที่จะแจ้งให้ลูกค้าและตัวแทนของบริษัทฯทรบโดยเร็วที่สุดดดยอยู่ในระหว่างการประสานงานกับสำนักงานคระกรรมการกำกับและส่งเสริมการ ประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และกรมสรรพากร บริษัทฯ จึงมีอาจให้ข่าวสาร หรือข้อมูลใดๆ ก่อนได้รับคำยืนยันจากทั้งสองหน่วยงานดังกล่าวซึ่งประกาศ ลงนาม วันที่ 30 ธันวาคม 2551

คำถามที่ 3  ในการยื่นเอกสารเพื่อใช้เป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีกรณีค่าเบี้ยประกันชีวิตต้องใช้เอกสารใดบ้าง
คำตอบ เอกสารประกอบการยื่นแบบฯเพื่อใช้เป็นสิทธิประโยชน์ภาษีกรณีค่าเบี้ยประกันชีวติคือใบรับเงินค่าเบี้ยปรกันภัยหรอืหนังสือรับรองการชำระเบี้ยประกันภัยที่บริษัทฯ ออกให้

คำถามที่ 4 ใบรับเบี้ยประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตที่เริมทำตังแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป จะมีการแยกรายละเอียดให้จึงสงสัยจะสามารถนำไปใช้สิทธิ์ประโยชน์ทางภาษีได้เต็มจำนวนหรือไม่
คำตอบ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 172 ประกาศ ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2551 กรม สรรพากร กำหนดให้เบี้ยประกันชีวิตแยกในส่วนของเบี้ยประกันภัยดังนั้นผู้เอาประกันภัยสามารถนำเฉพาะค่าเบี้ยประกันชีวิตไปใช้อ้างอิงในการใช้สิทธิ์หักลดหย่อนภาษีเงินได้โดยทุกกรมธรรม์รวมกันสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

คำถามที่ 5 ข้อกำหนดนี้มีผลบังคับเนื่องจากการเพิ่มค่าลดหย่อนภาษีเบี้ยประกันชีวิตเป็น 1 แสนบาท จึงยกเลิกการลดหย่อน เบี้ยประกันภัยของสัญญาเพิ่มเติมใช่หรือไม่
คำตอบ  ไม่ใช่ ตามระบุว่าเบี้ยประกันชีวิตเท่านั้นที่หักลดหย่อนภาษาได้

คำถามที่ 6 หากกรมธรรม์ที่ทำก่อน 1 มกราคม 2552 ลูกค้าได้ใช้เบี้ยประกันภัยของสัญญาเพิ่มเติมในการหักลดหย่อนภาษี แล้วลูกค้าจะถูกกรมสรรพากรเรียกเก็บย้อนหลังหรือไม่
คำตอบ ตามประกาศอธิดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่172 ได้ระบุไว้ว่า กฎเกณฑ์ใหม่มีผลบังคับสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตได้เริ่มทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป ดังนั้นตามประกาศของกรมสรรพากรไม่มีผลย้อนหลัง (ควรแนะนำให้ลูกค้าใช้หนังสือรับรองการชำระเบี้ยประกันภัยในการยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ฯ)

คำถามที่ 7  ทำไมที่ผ่านมา หนังสือรับรองการชำระเบี้ยประกันภัย จึงไม่แยกเบี้ยประกันชีวิตของสัญญาหลักเบี้ยประกันภัยสัญญาเพิ่มเติม
คำตอบ… เนื่องจากที่ผ่านมาไม่ได้มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการออกเอกสารรับรองการชำระเบี้ยประกันภัยว่าต้องแยกเบี้ยประกันชีวิตและเบี้ยประกันภัยสัญญาเพิ่มเติม ดังนั้นบริษัทฯ จึงระบุจำนวนเบี้ยประกันภัยรวมในการรับชำระ อย่างไรก็ตามสำหรับกรมธรรม์ที่ทำตั้งแต่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป บริษัทฯ จะแยกเบี้ยประกันชีวิตกับเบี้ยประกันภัยสัญญาเพิ่มเติมในใบรับเงินค่าเบี้ยประกันภัย และหนังสือรับรองการชำระเบี้ยประกันภัย(ควรแนะนำให้ลูกค้าใช้หนังสือรับรองการชำระเบี้ยประกันภัยในการยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ฯ)

คำถามที่ 8  วันที่เริ่มทำ หมายถึง
คำตอบ เนื่องจากกรมสรรพากรใช้ระบบเงินสด ดังนั้นจึงถือวันที่จ่ายค่าเบี้ยประกันภัยปีแรกเป็นวันเริ่มทำ

คำถามที่ 9   ในกรณีที่กรมธรรม์เดิมที่ทำก่อน 1 มกราคม 2551 มาขอซื้อสัญญาเพิ่มเติม หรือมาขอเพิ่มจำนวนเงินเอาประกันภัย (เพิ่มทุน) ในปี 2552 เบี้ยประกันภัยสัญญาเมเติมจะได้สิทธิ์หักลดหย่อนได้หรือไม่ อย่างไร
คำตอบ  ในกรณีที่กรมธรรม์เดิมมาขอซื้อสัญญาเพิ่มเติมใหม่ เบี้ยประกันที่เพิ่มเติมใหม่นี้ไม่สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ ในกรณีที่กรมธรรม์เดิมมาขอซื้อทุนประกันภัยเพิ่ม เบี้ยประกันชีวิตทังหมด (เดิม+เพิ่ม) ะสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับแบบประกันภัยนั้นเข้าเงื่อนไขตามประกาศกรมสรรพากรใหม่หรือไม่ อย่างไร

คำถามที่ 10 กรมธรรม์เดิมที่สามารถใช้สิทธิ์หักลดหย่อนได้เต็มจำนวน ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแบบประกันภัย โดยแบบประกันภัยใหม่นั้นไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะนำมาหักลดหย่อนได้ เบี้ยประกันภัยจะได้สิทธิ์ลดหย่อนหรือไม่ อย่างไร
คำตอบ  ไม่ได้เนื่องจากแบบประกันภัยนั้นไม่เข้าหลักเกณฑ์การหักลดหย่อนภาษี ตามเงื่อนไขใหม่ของกรมสรรพากร

คำถามที่ 11  ลูกค้าที่รับหนังสือรับรองจากบริษัทฯไปแล้ว ทางกรมสรรพากรจะตรวจสอบได้อย่างไร
คำตอบ กรมสรรพากรเป็นผู้กำหนดให้บริษัทประกันชีวิตออกหนังสือรับรอวการชำระเบี้ยประกันภัย โดยให้แยกเบี้ยประกันชีวิตและเบี้ยประกันภัย สำหรับกรมธรรม์ที่เริ่มทำตั้งแต่ 1 มกราคม 2552

คำถามที่ 12 กรณีลูกค้าชำระรายเดือน ในช่วงระหว่างปี 2551 และปี 2552 การลดหย่อยภาษีระหว่าง 2 ปี ภาษีที่เกิดขึ้นลูกค้าจะคำนวณผลประโยชน์เพื่อหักลดหย่อนภาษีเงินได้อย่างไร
คำตอบ เนื่องจากกรมสรรพากรใช้ระบบเงินสด ดั้งนั้นจึงถือปีที่ผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยประกันภัย เป็นปีที่สามารถใช้สิทธิ์หักลดหย่อนภาษีได้ สำหรับเบี้ยประกันภัยที่ชำระในปี 2551 จะสามารถใช้สิทธิ์ในทางภาษีปี 2551 ตามจำนวนที่จ่ายจริง ส่วนเบี้ยประกันชำระในปี 2552 จะสามารถใช้สิทธิ์ในทางภาษีปี 2552 ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาทเช่นเดียวกัน
ตัวอย่างเช่น กรมธรรม์เริ่มทำ 15 มีนาคม 2551 เบี้ยประกันภัยงวดละ 1,000  บาท เบี้ยประกันภัยที่ใช้สิทธิ์ทางภาษี จะเป็นเบี้ยประดันภัยชำระในปี 2551 จำนวน 10,000 ส่วนในปี 2552 ถ้าผู้เอาประกันภัยครบทุกงวดในปี 2552 เบี้ยประกันภัยที่ใช้สิทธิ์ทางภาษีในปี 2552 จะเป็นจำนวน 12000 บาท (สำหรับกรมธรรม์ที่ทำก่อน 1 มกราคม 2552 บริษัทฯ จะออกหนังสือรับรองการชำระเบี้ยประกันภัยเป็นเบี้ยประกันภัยรวม)

คำถามที่ 13 กรมธรรม์สำเร็จรูปเช่น อยุธยาแคร์พรีเมียร์ (HP Plus) ยังคงจะลดหย่อนภาษีได้หรือไม่บริษัทฯจะต้องแยกเบี้ยเหมือนกันกับรายสามัญหรือไม่
   คำตอบ….. สำหรับกรมธรรม์ที่เริ่มทำตั้งแต่ 1 มกราคม 2552 กรมสรรพากรเป็นผู้กำหนดให้บริษัทประกันชีวิตออกหนังสือรับรองการชำระเบี้ยประกันภัย โดยให้แยกเบี้ยประกันชีวิต และเบี้ยประกันภัย เฉพาะเบี้ยประกันชีวิตเท่านั้นที่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้

คำถามที่ 14 กรณีเสนอขายผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่นค่าน้ำนม จะยังคงสามารถหักลดหย่อนภาาประกันสุขภาพให้กับบิดามารกาได้หรือไม่ถ้าได้จะลดหย่อนได้เท่าไหร่
คำตอบ…. ยังคงรับสิทธิ์ตามเงื่อนไขเดิม คือใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 150000 บาท สำหรับเบี้ยประกันสุขภาพ

คำถามที่ 15 ลูกค้าสามารถไปหาข้อมูลเกี่ยวกับข้อกำหนดนี้ได้จากสื่อใดได้บ้าง
คำตอบ…..  ท่านสามารถดูข้อมูลเกี่ยวกับข้อกำหนดนี้ได้จาก Website ดังนี้ กรมสรรพากร www.rd.gothหรือสำนักงาน๕ระกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปก.) www.oic.go.th