ท่านผู้อ่านครับ บทความฉบับที่แล้วผมได้กล่าวถึงหลักการของมาตรการ ภาษีเพื่อ ส่งเสริมการออมในรูปแบบของการประกันชีวิตแบบบำนาญ (Annuity Life Insu-rance) ไปแล้ว สำหรับฉบับนี้จะขอกล่าว ถึง วิธีการคำนวณค่าลดหย่อนทางภาษีครับ
สิทธิประโยชน์ทางภาษีของการประกันชีวิตแบบบำนาญนั้นได้กำหนดให้ผู้ออมสามารถหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในวงเงินของประกันชีวิตทั่วไปได้ จำนวนไม่เกิน 100,000 บาท โดยในกรณีที่มี การซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญมากกว่า 100,000 บาท นั้น ผู้ออมสามารถหักได้เพิ่มขึ้นอีกจำนวน 200,000 บาท จึงทำให้สามารถหักค่าลดหย่อนสำหรับเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญได้รวม 300,000 บาท อย่างไรก็ดี ค่าลดหย่อนส่วนที่หักเพิ่มได้อีก 200,000 บาท นั้น จะต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน และเมื่อรวมกับการหักค่าลดหย่อนของกองทุนเลี้ยงชีพ (กสล.) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบช.) กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) แล้ว รวมกันต้องไม่เกิน 500,000 บาทต่อ ปี ทั้งนี้ เพื่อให้ท่านผู้อ่านง่ายต่อการเข้าใจขออนุญาต ยกตัวอย่างประกอบดังนี้
ตัวอย่าง 1 นายเอ มีเงินได้ปีละ 750,000 บาท จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ปีละ 95,000 บาท จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 75,000 บาท นายเอสามารถหักค่าลดหย่อนได้ดังนี้
1. ค่าเบี้ยประกันชีวิตจากแบบสะสมทรัพย์ หักได้จำนวน 95,000 บาท
2. ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญที่หักได้เพิ่มเติมไม่มี
3. รวมค่าหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต จำนวน 95,000 บาท
ตัวอย่าง 2 นายบี มีเงินได้ปีละ 1,280,000 บาท จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญปีละ 143,500 บาท จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 128,000 บาท และจ่ายค่าซื้อหน่วยลงทุนใน RMF จำนวน 121,000 บาท นายบี สามารถหักลดหย่อนได้ดังนี้
1. ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ หักได้ในวงเงินประกันชีวิตทั่วไป จำนวน 100,000 บาท
2. ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญส่วนที่หักได้เพิ่มขึ้น หักได้จำนวน 43,000 บาท (15% ของ 1,280,000 = 192,000 < 200,000)
3. รวมสามารถหักค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตได้เป็นจำนวน 143,500 บาท (100,000 + 43,500)
4. รวมค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญส่วนที่หักได้เพิ่มขึ้น และเงินจ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ RMF เท่ากับ 292,500 บาท (43,500 + 128,000 + 121,000) ซึ่งรวมแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
ตัวอย่างที่ 3 นาย ก. มีเงินได้ ปีละ 600,000 บาท จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ปีละ 50,000 บาท ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญปีละ 120,000 บาท จ่ายเงินสะสมเข้า กบข. 60,000 บาท นาย ก. สามารถหักค่าลดหย่อนได้ดังนี้
1. ค่าเบี้ยประกันชีวิตจากแบบสะสมทรัพย์และแบบบำนาญ หักได้ในวงเงินทั่วไป จำนวน 100,000 บาท (50,000 + 50,000)
2. ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญส่วนที่หักได้เพิ่มขึ้น หักได้ 70,000 บาท (15% ของ 600,000 = 90,000 < 200,000)
3. รวมสามารถหักค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตได้เป็นจำนวน 170,000 บาท (50,000 + 50,000 + 70,000)
4. รวมค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญส่วนที่หักได้เพิ่มขึ้น และเงินจ่ายเข้า กบข. เท่ากับ 130,000 บาท (70,000 + 60,000) ซึ่งรวมแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
ตัวอย่าง 4 นาย ข. มีเงินได้ปีละ 1,350,000 บาท จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบตลอดชีพปีละ120,000 บาท ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ 250,000 บาท จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 135,000 บาท และจ่ายค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน RMF จำนวน 100,000 บาท นาย ข. สามารถหักค่าลดหย่อนได้ดังนี้
1. ค่าเบี้ยประกันชีวิตจากแบบตลอดชีพ หักได้จำนวน 100,000 บาท (2,000 บาท หักไม่ได้)
2. ค่าเบี้ยประชีวิตแบบบำนาญส่วนที่หักได้เพิ่มขึ้น หักลดหย่อนได้แค่ 200,000 บาท (15% ของ1,350,000 = 202,500 > 200,000)
3. รวมค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต เท่ากับ 300,000 บาท (100,000 + 200,000)
4. รวมค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญส่วนที่หักได้เพิ่มขึ้นและเงินจ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ RMF จำนวน 435,000 บาท (200,000 + 135,000 + 100,000) ซึ่งรวมแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
ตัวอย่าง 5 นาย ค. มีเงินได้ปีละ 2,100,000 บาท จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ปีละ 80,000 บาท ค่าเบี้ยประกันอุบัติเหตุและสุขภาพ 50,000 บาท และชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญครั้งเดียว 500,000 บาท และจ่ายเงินสมสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 210,000 บาท และจ่ายเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน RMF จำนวน 250,000 บาท นาย ค. สามารถหักค่าลดหย่อนได้ดังนี้
1. ค่าเบี้ยประกันชีวิตจากแบบสะสมทรัพย์และแบบบำนาญเท่ากับ 100,000 บาท (80,000 + 20,000) สำหรับค่าเบี้ยประกันอุบัติเหตุและสุขภาพจำนวน 50,000 บาท หักลดหย่อนไม่ได้
2. ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญส่วนที่หักได้เพิ่มขึ้น หักค่าลดหย่อนได้แค่ 200,000 บาท (15% ของ 2,100,000 = 315,000 > 200,000) สำหรับส่วนที่เกิน 200,000 บาท ไม่สามารถหักได้
3. รวมค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต เท่ากับ 300,000 บาท (80,000 + 20,000 + 200,000)
4. รวมค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ส่วนที่หักได้เพิ่มขึ้น และเงินจ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุน RMF จำนวน 500,000 บาท (200,000 + 210,000 + 90,000) ซึ่งรวมแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
สรุปการหักค่าลดหย่อนตามตัวอย่าง
ค่าลดหย่อน |
เบี้ยประกันชีวิตทุกแบบไม่เกิน 100,000 บาท (ตามกฎหมายเดิม) |
เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ส่วนที่หักได้เพิ่มขึ้นตามข้อกฎหมายใหม่ (1) (ไม่เกิน 15% ของเงินได้ และไม่เกิน 200,000) |
กสล. (2) |
กบข. (3) |
RMF (4) |
รวม (1)+(4) |
นาย เอ | 95,000 |
– |
75,000 |
– |
– |
75,000 |
นาย บี | 100,000 |
43,500 |
128,000 |
– |
121,000 |
292,500 |
นาย ก. | 50,000+50,000 |
70,000 |
– |
60,000 |
– |
130,000 |
นาย ข. | 100,000 |
200,000 |
135,000 |
– |
100,000 |
435,000 |
นาย ค. | 80,000+20,000 |
200,000 |
210,000 |
– |
90,000 |
500,000 |
คณะรัฐมนตรีในคราวการประชุมเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2553 ได้มีมติเห็นชอบ ซึ่งเป็นประกันชีวิตรูปแบบใหม่ที่ยังไม่เคยมีในประเทศไทย ดังนั้น บทความในตอนนี้และตอนต่อไป ผมจะขออนุญาตกล่าวลงไปในรายละเอียดของเรื่องนี้ครับ
การประกันชีวิตแบบบำนาญเป็นรูปแบบการสร้างหลักประกันรายได้อย่างหนึ่งที่แตกต่างไปจากการประกันชีวิตโดยทั่วไป กล่าวคือ เป็นการประกันชีวิตที่มุ่งเน้นการออมเงินในขณะที่ผู้ออมกำลังอยู่ในวัยทำงานและเป็นผู้มีรายได้ ทังนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บไว้เป็นรายได้ในยามเกษียณหรือชราภาพ ทั้งนี้ การกำหนดเงินสมทบบำนาญทั่วไปมี 2 แบบ คือ
1. แบบ DC (Define Contribution) กล่าวคือ เก็บออมเท่าไร ทั้งหมดถือเป็นเงินบำเหน็จที่ต้องการใช้หลังเกษียณ
2. แบบ DB (Define Benefit) จะเป็นการคำนวณตามความต้องการของลูกค้า เช่น ต้องการบำเหน็จ 2 ล้านบาท ก็จะมีการคำนวณการจัดเก็บเบี้ยในแต่ละปี เพื่อให้ได้เงินก้อนตามที่ต้องการใช้จ่ายหลังเกษียณ
สำหรับสิทธิ์ประโยชน์ทางภาษีของการประกันชีวิตแบบบำนาญนั้น ได้กำหนดให้ผู้ออมสามารถหักค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ในวงเงินเดิม 100,000 บาท และสามารถหักได้เพิ่มขึ้นอีก 200,000 บาท รวมเป็น 300,000 บาท แต่ทั้งนี้ ค่าลดหย่อนส่วนที่เพิ่มขึ้น 200,000 บาท นั้น จะต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน นอกจากนี้ ยังมีหลักเกณฑ์อื่นๆ อีกได้แก่
1. เป็นการออมในรูปแบบของรูปกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญเพื่อไว้ใช้เมื่อเกษียณอายุ โดยกรมธรรม์แบบบำนาญต้องมีกำหนดเวลาไม่ต่ำกว่า10 ปี และได้ทำสัญญาไว้กับบริษัทที่ประกอบกิจการในประเทศ เป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญที่ผ่านการอนุมัติและรับรองจากสำนักงาน คปภ. ว่าสามารถใช้สิทธิหักค่าลดหย่อนได้เพิ่มขึ้นตามข้อกฎหมาย
2. การจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ผู้ออมสามารถจ่ายชำระครั้งเดียวหรือทยอยจ่ายได้ตามเงื่อนไขของกรมธรรม์โดยในช่วงเวลาที่ชำระค่าเบี้ยประกัน หรือก่อนผู้ออม ได้มีอายุครบ 55 ปี หรือ 60 ปี จะต้องไม่ได้รับเงินคืนและเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ จากกรมธรรม์ดังกล่าว
3. เมื่อผู้ออมได้ชำระเบี้ยประกันครบตามสัญญาแล้ว และมีอายุครบ 55 ปี หรือ 60 ปี จะได้รับเงินคืน หรือบำนาญเป็นรายงวดเท่าๆ กัน อย่างสม่ำเสมอจนถึงอายุ 85 ปี หรือมากกว่าตามที่ระบุในกรมธรรม์ โดยเงินบำนาญหรือเงินคืนที่ได้รับต้องไม่เป็นเงินก้อน
4. ใบเสร็จรับเงินหรือใบรับรองการจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตที่ผู้ออมจะนำมาเป็นหลักฐานใช้สิทธิหักค่าลดหย่อนต้องรับรองว่าเป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญที่ได้รับสิทธิหักค่าลดหย่อนได้ และต้องแยกรายการค่าเบี้ยประกันแบบบำนาญออกจากเบี้ยประกันชีวิตแบบอื่น หรือเบี้ยประกันสุขภาพ/เบี้ยประกันอุบัติเหตุ หรือเบี้ยประกันภัยอื่น
ที่มา : หนังสือพิมพ์สยามรัฐ
ติดต่อ รุ่งนภา สดงาม โทร.081-7743466 , 02-3184940 กด 0
Email : aomsin.net@hotmail.com , www.aomsin.net
No Comment